-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ประเทศนี้โคตรแปลก สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ปรารถนามักไม่ได้ / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
23 ก.พ. 2017

ประเทศนี้โคตรแปลก สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ปรารถนามักไม่ได้ / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ อะไรก็ตามที่ประชาชนส่วนใหญ่อยากได้เพราะเป็นการเอื้ออำนวยแก่ประชาชนโดยรวม มักไม่ได้ ประชาชนคือเจ้าของประเทศหรือไม่ ดร.โสภณ มีตัวอย่างให้ดูคือ 1.โรงไฟฟ้ากระบี่ ประชาชนในพื้นที่กว่า 90% สนับสนุน 2.กระเช้าขึ้นภูกระดึง ชาวภูกระดึง 97% เรียกร้อง 3.เขื่อนแม่วงก์ ชาวนครสวรรค์ 79% เรียกร้อง และ 4.เหมืองทอง 78% ของชาวบ้านต้องการให้อยู่ต่อ สิ่งที่ NGOs กฎหมู่ คนถ่อยเถื่อน คนส่วนน้อยขัดขวางมักสำเร็จ จัดการกันโดยละมุนละม่อม ไม่ให้กระเทือนซางกัน ขนาดยกพวกมาชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล ศูนย์อำนาจและกล่องดวงใจรัฐบาล นายกรัฐมนตรียังต้องหนีออกทางประตูข้าง กรณีโรงไฟฟ้ากระบี่ ขนาดประชาชนกว่า 90% ในพื้นที่สนับสนุน แต่คนคัดค้านมีเพียงหยิบมือเดียวกลับสามารถคัดง้างได้ ดูอย่างมาเลเซียมีโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 แห่ง โรงไฟฟ้ากระบี่เปิดดำเนินการในช่วงปี 2507-2538 โดยใช้ถ่านหินลิกไนต์ที่มีคุณภาพต่ำกว่าถ่านหินบิทูมินัส แต่จำนวนรีสอร์ตหรูกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ได้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรณีกระเช้าขึ้นภูกระดึง ประชาชนในพื้นที่ประมาณ 97% ต้องการให้สร้างกระเช้าไฟฟ้า แสดงถึงมติมหาชนที่ต้องเคารพ และเป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาของประชาชนที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเองว่า กระเช้าไฟฟ้ามีประโยชน์จริง ไม่เฉพาะแก่ประชาชนในพื้นที่ แต่มีประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศที่มาใช้บริการ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สร้างรายได้ให้ทางราชการนำเงินมาอนุรักษ์ธรรมชาติและป่าไม้จนก่อให้เกิดการ ท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ความต้องการของประชาชนภูกระดึงจึงไม่ใช่การครอบครองทรัพยากรของชาติไปใช้ เพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนถ่ายเดียว กรณีเขื่อนแม่วงก์ ประชาชนถึง 79% ต้องการให้สร้าง ยิ่งถ้าเป็นชาวนาอาจกล่าวได้ว่าแทบจะ 100% เพราะจะเป็นประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ อย่างเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนรัชประภา ฯลฯ เป็นประโยชน์ทั้งต่อป่าไม้ที่จะมีผืนน้ำ 13,000 ไร่มาหล่อเลี้ยงแทนคลองเล็กๆ ในพื้นที่ก็จะมีน้ำไว้ดับไฟป่าที่เกิดขึ้นนับร้อยครั้งต่อปี การนำพื้นที่ 0.1% ของผืนป่ามาทำเขื่อนจะยิ่งทำให้ป่าไม้ขยายตัว กรณีเหมืองทองอัครา ประชาชนส่วนใหญ่ถึง 78% หรือ 4 ใน 5 ต้องการให้เหมืองทองเปิดดำเนินการต่อ มีเพียงส่วนน้อย 22% ที่เห็นควรให้ปิดเหมืองตามคำสั่งของทางราชการ แง่หนึ่งคือคนส่วนน้อย (ซึ่งก็พึงรับฟัง) แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นกลุ่มบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับรู้ข้อมูลโดยตรงจากการ อยู่อาศัยในพื้นที่ ประชาชนไม่ได้เสียชีวิตเพราะเหมือง

ที่มา : http://www.lokwannee.com/web2013/?p=258979

วันที่ 23 ก.พ. 60