-
กลับไปหน้าแรกข่าว  บ้าน (ใหม่) แบบไหน ปลอดภัยจากน้ำท่วม? (
11 ก.พ. 2017

บ้าน (ใหม่) แบบไหน ปลอดภัยจากน้ำท่วม? (

คำถามที่เกิดขึ้นอย่างมากมายระหว่างวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ นอกเหนือจากการซ่อมแซมบ้าน และที่อยู่อาศัยแล้ว คงเป็นเรื่องที่ว่า เราจะออกแบบบ้านใหม่ หรือปลูกบ้านใหม่กันอย่างไรดี ถึงจะอยู่รอดปลอดภัยจากน้ำท่วมกันอย่างไร เชื่อว่า หลังจากวิกฤตการณ์นี้ผ่านพ้นไป เราคงได้เห็นนวัตกรรมทางการออกแบบบ้าน และที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำในรอบใหม่จากบรรดานักออกแบบ และผู้เกี่ยวข้องกันอีกมากมายแน่ๆ ครับ ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องดีที่สังคมจะมีโอกาสมากขึ้นในการได้เรียนรู้ ได้เลือกซื้อหาบ้านแบบใหม่ๆ ที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างจากโจทย์ในการอยู่อาศัยแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคยกันมาอย่างแน่นอน สำหรับรูปแบบบ้าน : การออกแบบบ้าน หากท่านไม่อยากนั่งกังวล หรือนั่งลุ้นกับน้ำว่าจะท่วม หรือไม่ท่วมบ้านท่านในปีต่อๆ ไป แนะนำว่า ท่านควรยกระดับพื้นบ้านเป็นใต้ถุนโล่งแบบบ้านเรือนไทยเดิม ความสูงตั้งแต่ 1.20-2.00 เมตร ตามสภาพระดับน้ำ และภูมิประเทศ เพื่อลดผลกระทบจากน้ำท่วมขัง และลดความเสียหายของตัวอาคาร และทรัพย์สินในฤดูน้ำ นอกจากนี้แล้ว การเปิดใต้ถุนโล่งยังลดความเสี่ยงจากปลวกใต้ดินเข้าเยี่ยมเยือนตัวบ้าน รวมทั้งท่านยังสามารถบำรุงรักษา และซ่อมแซมท่อ และระบบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายใต้พื้นบ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น  ระบบไฟฟ้า : ควรแยกวงจรจ่ายกระแสไฟฟ้าแต่ละชั้นออกจากกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของการติดตั้ง และความละเอียดของวงจร ระบบประปา : แนวทางการเดินระบบประปาควรแยกการควบคุมแต่ละชั้นออกจากกันเช่นเดียวกับระบบ ไฟฟ้า โดยเฉพาะชั้นล่างๆ ตัวท่อ ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำ หรือท่อน้ำโสโครก ควรติดตั้งแบบเดินลอยสูงจากพื้นประมาณ 0.40-0.50 เมตร เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ และซ่อมแซม ทั้งขณะน้ำท่วม และช่วงปกติครับ ควรติดตั้งท่ออากาศในท่อน้ำโสโครกให้ครบทุกจุด และวางให้ปลายท่ออากาศยาวพ้นระดับน้ำท่วมอย่างเพียงพอ เพื่อรักษาสภาพการใช้งานให้มีประสิทธิภาพทั้งในภาวะปกติ และน้ำท่วมครับ รวมทั้งควรเลือกใช้ท่อ PE แทนท่อ PVC เนื่องจากตัวท่อจะมีความยืดหยุ่น และทนทานต่อความเสียหายได้ดีกว่า       

ที่มา : manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000014498

วันที่ 11 ก.พ. 60