-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ชุมชนอยู่ได้ โรงไฟฟ้ากระบี่อยู่รอด ทางเลือกที่ลงตัว
9 ก.พ. 2017

ชุมชนอยู่ได้ โรงไฟฟ้ากระบี่อยู่รอด ทางเลือกที่ลงตัว

                โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ เป็นโครงการของรัฐที่มีการพูดถึงกันมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะมีความเห็นทั้งด้านบวกและลบ ในด้านบวกก็มีเหตุผลว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ถ่านหินมีราคาถูก ทำให้ค่าไฟฟ้าถูกและมีเสถียรภาพในระยะยาว ลดการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติซึ่งปัจจุบันใช้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในทางลบมีผู้ให้เหตุผลว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินทำลายการท่องเที่ยว ทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอาชีพ เช่น การทำประมง ประเด็นหนึ่งที่มักมีการ กล่าวถึงตลอดเวลาคือ ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ เหตุผลสำคัญ
คือ ปัจจุบันภาคใต้มีกำลังผลิตไฟฟ้าใกล้เคียงกับความต้องการไฟฟ้าที่มีอยู่ราว 2,700 เมกะวัตต์ และในอนาคต 3-4 ปีข้างหน้า จะมีกำลังผลิตน้อยกว่าความต้องการไฟฟ้า โดยเฉพาะความต้องการไฟฟ้า ทางฝั่งอันดามันซึ่งเป็นจังหวัดท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่าพื้นที่อื่นทุกปี นอกจากนี้ การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่เป็นการสร้างในพื้นที่เดิมซึ่งเคยเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน และปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงอยู่แล้ว การใช้เส้นทางเดินเรือขนส่งถ่านหินจะใช้เส้นทางเดียวกันและ กินน้ำลึกเท่ากับเรือน้ำมันเตาในปัจจุบัน จึงไม่ต้องขุดลอกร่องน้ำ รวมทั้งไม่มีผลกระทบเส้นทางเดินเรือประมงและท่องเที่ยวในพื้นที่ ส่วนข้อห่วงกังวลต่างๆ นั้น แม้ว่าในทางเทคโนโลยีจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ทันสมัยที่สามารถป้องกันมลภาวะ ต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้ตามกฎหมายของประเทศไทยและมาตรฐานสากล แต่ กฟผ. ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีมาตรการเพื่อสร้างความมั่นใจ รวมทั้งสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนใน พื้นที่อย่างต่อเนื่อง เช่น การออกแบบสายพานลำเลียงถ่านหินในช่วงผ่านคลองและป่าชายเลนเป็นอุโมงค์ตลอด ใต้ดินความยาวกว่า 2 กิโลเมตรการลดขนาดของเรือขนส่งถ่านหินจากต่างประเทศ การติดตั้งเครื่องกำจัดสารปรอทเพิ่มเติม และการใช้เทคโนโลยีทัน สมัยหม้อต้มไอน้ำแบบ Ultra-supercritical(USC) ที่ลดการใช้เชื้อเพลิง และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะทำให้โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินอื่นๆ ที่อยู่ในเมืองใหญ่ และเมืองท่องเที่ยวของโลก เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศญี่ปุ่น เยอรมนี มาเลเซีย หรือเกาหลีใต้ ที่ไม่สร้างผลกระทบต่อการท่องเที่ยว หรือชุมชน

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/853856

วันที่ 9 ก.พ. 60