-
กลับไปหน้าแรกข่าว  'พฤกษา-แอลพีเอ็น' ฉุดมาร์เก็ตแคปอสังหาฯวูบ
7 ก.พ. 2017

'พฤกษา-แอลพีเอ็น' ฉุดมาร์เก็ตแคปอสังหาฯวูบ

เมื่อสถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น หลังเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว เป็นเหตุให้ภาพรวมธุรกิจอสังหาฯตลอดปี 2559 ทำดีที่สุดด้วยการสร้างการเติบโตเฉลี่ย 2% แม้ที่ผ่านมาจะได้รับ แรงส่งจาก 3 มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ตั้งแต่ ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์ จาก 1% ของราคาประเมิน เหลือ 0.01% แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค.2558-วันที่ 28 เม.ย.2559 รวมถึงธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ออกมาตรการส่งเสริมการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร ห้องชุด หรือเพื่อปลูกสร้างอาคาร วงเงินเบื้องต้น 10,000 ล้านบาท  นอกจากนั้น ยังยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายได้ที่จ่ายไป เพื่อซื้ออสังหาฯที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง คิดเป็นจำนวน 20% ของมูลค่าอสังหาฯ เมื่อปัจจัยภายในประเทศไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอสังหาฯ ทำให้ความโดดเด่นของธุรกิจเริ่มจืดจาง โดยเฉพาะรายที่เน้นเจาะ "กลุ่มลูกค้าตลาดกลางลงล่าง" เพราะกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่ลูกค้าบางรายยังมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นจากมาตรการรถยนต์คันแรก ความสวยชะลอตัวสามารถสะท้อนภาพผ่าน "กำไรสุทธิ" ของกลุ่มพัฒนาอสังหาฯ ในช่วง 3 ปีก่อน (2557-2559) ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากเคยสร้างกำไรสุทธิสูงถึง 56,396 ล้านบาท และ 59,525 ล้านบาท ในปี 2557-2558 ลดเหลือ 39,341 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2559 ขณะเดียวกัน ในช่วงปี 2557-9 เดือนของปี 2559 “อัตรากำไรสุทธิ” ของกลุ่มพัฒนาอสังหาฯยังปรับตัวลดลง จากระดับ 15.42% 13.96% และ 13.27% ตามลำดับ สวนทางกับ “อัตราส่วนเงินปันผล” ที่อยู่ระดับ 2.36% 2.84% และ 3.20% ตามลำดับ  แม้หลายบริษัทจะพยายาม “พลิกเกมสู้” กำลังซื้อหดตัว ทว่าก็ไม่อาจผลักดันกำไรสุทธิให้ขยับขึ้นได้ โดยเฉพาะ บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง ที่หันมาเน้นโครงการระดับพรีเมี่ยม จากสัดส่วน 5-10% ในปัจจุบันเป็น 30% ภายใน 5 ปีข้างหน้า แต่ ในช่วง 9 เดือนของปี 2559 สร้างกำไรได้ดีที่สุดเพียง 4,067 ล้านบาท เทียบกับปี 2558 ที่มีกำไร 7,680 ล้านบาท กำไรลดลง 3,613 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ผลงานภาคอสังหาฯที่ไม่เด่นเหมือนเคยยังสะท้อนผ่าน “ตัวเลขมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด” หรือ Market Cap ที่ปรับตัวลงเช่นกัน จากระดับ945,367 ล้านบาท คิดเป็น 6.82% ของมาร์เก็ตแคปกลุ่มอสังหาฯและก่อสร้าง ในปี 2557 เหลือ 919,098 ล้านบาท คิดเป็น 7.48% ในปี 2558 ก่อนจะขยับขึ้นมายืนระดับ 959,938 ล้านบาท คิดเป็น 6.37% ในช่วง 9 เดือนของปีที่ผ่านมา

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/739418

วันที่ 7 ก.พ. 60