-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ภาวะตลาดที่อยู่อาศัยอาเซียน
20 ธ.ค. 2016

ภาวะตลาดที่อยู่อาศัยอาเซียน

ประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลาง ของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีตประเทศไทยเคยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ แต่สิงคโปร์สามารถก้าวผ่านประเทศไทยทางอากาศได้ และยังจุดยุทธศาสตร์เส้นทางเดินเรืออีกด้วย ดังนั้น สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางเรือและอากาศและศูนย์รวมอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชั้นนำแม้มีข้อจำกัดด้านขนาดของประเทศและทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีสมรรถภาพในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางบก ในอีกสิบปีข้างหน้ารถไฟความเร็วสูงจะกลายเป็นแนวทางการขนส่งทางบกที่มีความ สำคัญที่สุด ซึ่งจะมีเส้นทางตัดผ่านประเทศไทยด้วย ระบบรถไฟความเร็วสูงนี้จะช่วยให้การพัฒนาประเทศทั้ง 6 บนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นไปอย่างยั่งยืนได้ ช่วยให้ประเทศไทยมีอนาคตที่สดใสไปด้วย จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบ มีเพียงอินโดนีเซียและพม่าเท่านั้นที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย ด้านจำนวนประชากร ก็มีเพียงอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เท่านั้นที่มีประชากรมากกว่า ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบค่า GDP ต่อหน่วยประชากรแล้วประเทศไทยเป็นอันดับสี่รองจากสิงคโปร์ บรูไนและมาเลเซีย ขณะนี้อัตราการเติบโตของ GDP ของไทยต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตามเมื่อความวุ่นวายทางการเมืองคลี่คลาย สถานการณ์น่าจะดีขึ้นตามลำดับ กรุงจาการ์ตา ที่อยู่อาศัยกลุ่มใหญ่ที่สุดมีราคา 30,001-60,000 เหรียญสหรัฐฯ ถึง 66,607 หน่วย โดยขายไปได้แล้ว 43,823 หน่วย รอลงมาคือที่อยู่อาศัยระดับราคา 15,001-30,000 เหรียญสหรัฐฯ ที่มีอยู่ 26,139 หน่วย ขายได้แล้ว 14,331 หน่วย ที่อยู่อาศัยถึง 62% เป็นห้องชุดพักอาศัย เป็นบ้านเดี่ยว 0% ที่ดินจัดสรร 0% บ้านแฝด 3% ทาวน์เฮาส์ 33% และตึกแถว 2% ราคาเฉลี่ยรวมหน่วยละ 85,196 เหรียญสหรัฐฯ (3.024 ล้านบาทโดยประมาณ) กรุงพนมเปญ ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ถึง 81% ขายได้แล้ว และบางส่วนเพิ่งขายหมดไป แต่ในส่วนที่ยังขายได้น้อย แต่ยังไม่ได้สรุปว่าขายไม่ดีก็คือ บ้านเดี่ยว 600,000 เหรียญขึ้นไป ขายได้แล้ว 91% ทาวน์เฮาส์ 60,001-90,000 เหรียญสหรัฐ ขายได้แล้ว 84% ตึกแถวราคา 60,001-90,000 เหรียญสหรัฐ ขายได้แล้วถึง 95% ห้องชุดราคา 90,001-150,000 เหรียญสหรัฐ ขายได้ 87% ผลตอบแทนในการลงทุนนี้ที่ 3.32% ดูท่าจะยังไม่ดึงดูดความสนใจมากนัก ทั้งนี้เพราะยังไม่มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนัก แต่หากพิจารณาจากการที่ราคาก็เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5.67% และน่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต ก็ดูท่าจะน่าสนใจมากขึ้น เพราะดีกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เสียอีก กรุงมะนิลา ที่อยู่อาศัยกลุ่มใหญ่ที่สุดมีราคา 2-3 ล้านเปโซถึง 33,991 หน่วย ที่อยู่อาศัยถึงมากกว่าครึ่งหนึ่งขายในราคาไม่เกิน 3 ล้านเปโซ และเกือบทั้งหมดขายในราคาไม่เกิน 10 ล้านเปโซ ในแง่ของมูลค่าการพัฒนา 373,750 ล้านเปโซนั้น กลุ่มใหญ่ที่สุดขายในราคา 3-5 ล้านเปโซ มูลค่ารวม 121,391 ล้านเปโซ หรือประมาณ 33% ของทั้งหมด ที่อยู่อาศัยถึง 67% หรือสองในสามขายในราคาไม่เกิน 5 ล้านเปโซ นครโฮจิมินห์ ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ถึง 78% ขายได้แล้ว และบางส่วนเพิ่งขายหมดไป แต่ในส่วนที่ยังขายได้น้อย แต่ยังไม่ได้สรุปว่าขายไม่ดีก็คือ ห้องชุดราคาไม่เกิน 30,000 เหรียญสหรัฐ ขายได้ 32% หรือบ้านเดี่ยวราคามากกว่า 600,000 เหรียญสหรัฐ ที่ขายได้ 41% สินค้าที่เปิดตัว ทั้งหมดเป็นโครงการอาคารชุดพักอาศัย โดยขาย ณ ระดับราคา 60,001-90,000 เหรียญเป็นสำคัญ โดยเปิดตัวสูงถึง 76% ทั้งนี้ไม่พบสินค้าที่มีราคาเกินกว่า 150,000 เหรียญสหรัฐเลย แสดงว่าขณะฟื้นตัวนี้ เน้นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางเป็นสำคัญ สินค้าราคาแพงที่เคยใช้เป็นสินค้าเก็งกำไร ไม่มีบทบาทในปัจจุบัน

ที่มา : http://www.consmag.com/index.php?mo=14&newsid=422989

วันที่ 20 ธ.ค. 59