-
กลับไปหน้าแรกข่าว  สัมภาษณ์ : พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ 3 ทางเลือก การสำรวจผลิตปิโตรเลียมไทย
26 มิ.ย. 2016

สัมภาษณ์ : พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ 3 ทางเลือก การสำรวจผลิตปิโตรเลียมไทย

การ เปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และการพิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นสุด อายุลง (แหล่งบงกช-เอราวัณ) ของกระทรวงพลังงาน ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างกระทรวงพลังงาน กับเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) จากเดิมที่เปิดให้ขุดเจาะสำรวจและผลิตภายใต้ระบบสัมปทาน มาเป็นการ "กดดัน" ให้นำระบบแบ่งปันผลผลิต หรือระบบรับจ้างผลิต ลามไปถึงการนำระบบเหล่านี้มาใช้เปิดประมูลกับแหล่งก๊าซบงกช-เอราวัณด้วย โดย พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยืนยันว่า ไม่ว่าจะใช้ระบบใดล้วนมีสถานะเป็นเพียง "ทางเลือก" เท่านั้น รัฐไม่ต้องควักสักบาท ไม่ต้องลงทุนเป็น 10,000 ล้านบาท เพื่อร่วมลงทุนกับเอกชน แบ่ง ปันผลผลิต กับระบบรับจ้างผลิต ต้องมาดูว่า ระบบคืออะไร วิธีการ การแบ่งปันผลผลิตก็คือ รัฐกับเอกชนทำงานด้วยกัน แต่แบ่งปันผลประโยชน์กัน อันเดิมสัมปทานคือ ภาครัฐกำหนดกติกา จ่ายเท่าไหร่ ทั้ง 2 อย่างนี้มันก็เหมือนกัน ต่างที่ว่าจะจ่ายอย่างไร แต่แตกต่างกันที่การควบคุม หากไม่มีใครเข้าประมูล หรือตกลงกันไม่ได้ เรา ก็จะใช้วิธีเข้าไปเจรจากับรายเดิม แต่คิดว่าต้องมีเข้ามาประมูลอยู่แล้ว ตรงนี้มีจุดที่คนชอบอ้างว่า สัมปทานในประเทศหลุมเยอะ แต่ก็เห็นใช้ไม่หมดซะทีนั้น เราไม่ต้องการบอกว่า แหล่งเรามันน้อย แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้วมันไม่มาก จากปัจจุบันเราผลิตอยู่ที่ 2,800 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เปรียบเทียบกับมาเลเซียที่ผลิตได้ 6,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน อินโดนีเซีย 7,400 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน จะเห็นว่าก๊าซเราน้อย และใช้เพื่อรองรับความต้องการในประเทศทั้งหมด แถมยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศอีกประมาณ 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เพราะที่ผลิตได้ไม่พอใช้ ก็มีคนอ้างว่าถ้าเป็นอย่างนั้นก็ขายเฉพาะแค่ในประเทศ แต่จะขายเท่าไหร่นั้น ถ้าจะให้ขายถูก ภาษีเข้ารัฐก็ย่อมต้องน้อยลง หรือถ้าแพงก็กระทบกับค่าไฟฟ้า ฉะนั้นควรขายตามราคาตลาดโลก

ที่มา : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1466872086

วันที่ 26 มิ.ย. 59