-
กลับไปหน้าแรกข่าว  อนาคตของหัวลำโพง: ทุบ-ทำอะไรดี
1 ธ.ค. 2021

อนาคตของหัวลำโพง: ทุบ-ทำอะไรดี

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนพัฒนาเมือง จึงขอแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างเหมาะสม อันที่จริงหัวลำโพงไม่ควรย้ายเพราะทำให้การเข้าถึงเมืองง่ายขึ้น เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง แล้วยังสามารถกระจายออกไปนอกเมืองได้ ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ในกรณีของสถานีรถประจำทางระหว่างเมือง ก็ควรอยู่ใกล้ๆ กับหัวลำโพง ไม่ควรมีหมอชิต เอกมัย และสายใต้ด้วยซ้ำไป ควรอยู่ใกล้กัน ตัวอย่างที่เห็นก็คือในมหานครนิวยอร์ก สถานีรถไฟ Penn Station กับสถานีขนส่งรถบัสระหว่างเมือง หรือ Port Authority Bus Terminal ก็อยู่ห่างกันเพียง 700 เมตร ใช้เวลาเดินแค่ 9 นาทีเท่านั้น อย่างไรก็ตามในกรณีการรักษาอาคารเดิมไว้แล้วสามารถพัฒนาอาคารใหม่ได้เช่นกัน ดังมีตัวอย่างให้เห็นดังนี้ 1. อาคาร Hearst Tower ในมหานครนิวยอร์ก ก็มีการสร้างอาคารใหม่คร่อมลงบนอาคารเดิม ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. อาคารสภาอุตสาหกรรมญี่ปุ่นซึ่งคงต้องการเก็บรักษาไว้เพราะตั้งอยู่ในใจกลางกรุงโตเกียวใกล้กับพระราชวังอิมพีเรียล ก็มีการก่อสร้างอาคารสูงคร่อมอยู่บนอาคารเดิมเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินให้คุ้มค่าเช่นกัน 3. ในกรณีอาคารหลายแห่งในนครโตรอนโตของแคนาดา ซึ่งในนครแห่งนี้ก็มีอาคารโบราณสถานหลายแห่งที่มีความต้องการที่จะเก็บไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการที่จะก่อสร้างอาคารใหม่คร่อมไว้เช่นกัน มีตัวอย่างการพัฒนาสถานีรถไฟที่นครโอซากาที่เมื่อปี 2550 ก็ยังใช้งานอยู่ แต่ในปี 2558 ก็เลิกใช้งานแล้ว เพราะรถไฟลงใต้ดินหมดแล้ว จึงมีการประมูลเพื่อพัฒนาในเชิงพาณิชย์
ที่มา : www.lokwannee.com/web2013/?p=424491