-
กลับไปหน้าแรกข่าว  วิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในอาเซียน
25 ต.ค. 2019

วิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในอาเซียน

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ในฐานะอดีตกรรมการสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินอาเซียน และสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุม 22nd Asean Valuers Association Congress ณ เมืองพัทยาในบ่ายวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 จึงขอสรุปแนวโน้มการพัฒนาวิชาชีพผู้ประเมินค่าทรัพย์สินในอาเซียน กัมพูชา ตั้งแต่ปี 2551 กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง กัมพูชาตั้งคณะกรรมการการประเมินค่าทรัพย์สิน ตอนนี้มีบริษัทประเมิน 40 แห่งแต่ที่ยังดำเนินการมี 10 แห่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีสมาคมนายหน้า-ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศกัมพูชา ผู้ประเมินต้องจบปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 6 เดือน ไม่มีประวัติอาชญากรรม ต่างชาติก็จดทะเบียนได้ บริษัทประเมินต้องมีผู้ประเมิน 2-3 คน ส่วนการประเมินเพื่อการจัดเก็บภาษี ทางราชการประเมินเอง บรูไน ใช้มาตรฐาน RICS แต่บรูไนกำลังจะตั้งคณะกรรมการประเมินค่าทรัพย์สินเพื่อควบคุมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน แต่ที่ผ่านมามีกรมที่ดินเป็นผู้ดูแลวิชาชีพนี้ มีผู้ประเมินเพียง 50 คนเท่านั้น สิงคโปร์ ในสิงคโปร์ ต้องมีใบอนุญาตประเมินค่าทรัพย์สิน โดยกรมเก็บภาษี หรือ Inland Revenue Department ภายใต้กระทรวงการคลัง ตอนนี้มีผู้ประเมิน 500 คน โดยต้องจบด้านอสังหาริมทรัพย์ ทำงานมา 2 ปีแล้ว และต้องเป็นสมาชิกสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินสิงคโปร์
ที่มา : consmag.com/th/news/82897-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99