-
กลับไปหน้าแรกข่าว  วิกฤติอสังหาฯ 3 รอบใน 30 ปีของสหรัฐ
22 ก.พ. 2019

วิกฤติอสังหาฯ 3 รอบใน 30 ปีของสหรัฐ

ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์มาหลายรอบในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ขณะนี้สหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤติอสังหาริมทรัพย์รอบที่ 3 หรือไม่ แล้วไทยจะได้ผลลัพธ์อย่างไร เราต้องเร่งศึกษาเรียนรู้แล้ว มาทบทวนกันว่าวิกฤติ 2 ครั้งใหญ่ของสหรัฐเป็นอย่างไร มาเริ่มต้นที่วิกฤติสินเชื่อ Savings and Loan Crisis กันก่อน สำหรับปัญหาในสหรัฐนั้น มีรากฐานมาจากสถาบันการเงิน โดยเฉพาะกิจการด้านเงินออมและการให้สินเชื่อ โดยในภาวะเศรษฐกิจปกติ อุตสาหกรรมการออมและการให้สินเชื่อก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อเกิดการ “บูม” ของเศรษฐกิจในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ถึง ต้นทศวรรษ 1980 สถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงเพราะดอกเบี้ยเคลื่อนไหวมากในขณะที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ใช้เงินกู้ยืมระยะสั้นมาให้สินเชื่อระยะยาว จุดหลักที่ทำให้สถาบันการเงินประสบปัญหาก็คือ การขาดระบบการควบคุม เปิดช่องให้เกิดความไม่ซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าของหรือผู้บริหารสถาบันการเงิน จนทำให้เกิดความเสียหายมากมาย และในที่สุดรัฐบาลกลางสหรัฐจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซงในช่วงปี 2532 ในครั้งนั้นนักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าของและผู้จัดการสถาบันการเงินถูกจับดำเนินคดีมากมาย ส่วนในกรณีวิกฤติซับไพรม์ (Subprime Lending) หรือการให้สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงโดยพิจารณาจากหลักประกันและฐานะของผู้กู้นั้นได้ก่อให้เกิดวิกฤติปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในวงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา และส่งผลต่อกิจกรรมอื่น ๆ ทางเศรษฐกิจ และเกิดความวิบัติในวงการที่อยู่อาศัยสหรัฐตั้งแต่ช่วงปี 2546-2548 ที่มีการอำนวยสินเชื่อชนเพดาน 100% ของมูลค่าบ้าน และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็มีการเคลื่อนย้ายทุนในตลาดหลักทรัพย์เข้ามาในตลาดอสังหาริมทรัพย์สูงมาก ความเลวร้ายเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงปี 2548-กลางปี 2550 ที่มีการอำนวยสินเชื่อที่ให้ผ่อนชำระแค่ดอกเบี้ยเท่านั้น ซึ่งแสดงถึงการปล่อยสินเชื่ออย่างประมาทและไร้วินัยอย่างที่สุด รวมถึงการประกันการจัดจำหน่ายเครื่องมือทางการเงินกันอย่างขาดการวิเคราะห์ที่ดีกันอย่างกว้างขวาง ส่วนในกรณีวิกฤติซับไพรม์ (Subprime Lending) หรือการให้สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงโดยพิจารณาจากหลักประกันและฐานะของผู้กู้นั้นได้ก่อให้เกิดวิกฤติปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในวงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา และส่งผลต่อกิจกรรมอื่น ๆ ทางเศรษฐกิจ และเกิดความวิบัติในวงการที่อยู่อาศัยสหรัฐตั้งแต่ช่วงปี 2546-2548 ที่มีการอำนวยสินเชื่อชนเพดาน 100% ของมูลค่าบ้าน และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็มีการเคลื่อนย้ายทุนในตลาดหลักทรัพย์เข้ามาในตลาดอสังหาริมทรัพย์สูงมาก ความเลวร้ายเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในช่วงปี 2548-กลางปี 2550 ที่มีการอำนวยสินเชื่อที่ให้ผ่อนชำระแค่ดอกเบี้ยเท่านั้น ซึ่งแสดงถึงการปล่อยสินเชื่ออย่างประมาทและไร้วินัยอย่างที่สุด รวมถึงการประกันการจัดจำหน่ายเครื่องมือทางการเงินกันอย่างขาดการวิเคราะห์ที่ดีกันอย่างกว้างขวา
ที่มา : www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646638