-
กลับไปหน้าแรกข่าว  คนเร่ร่อนแค่ 4,000 คนใน กทม.แก้ไขง่าย
22 ม.ค. 2019

คนเร่ร่อนแค่ 4,000 คนใน กทม.แก้ไขง่าย

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้จัดแถลงข่าวถึงข้อค้นพบเกี่ยวกับคนเร่ร่อนหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร อยุธยา และสมุทรสาคร ในช่วงแรกของการนำเสนอ นางอัจฉราแถลงสรุปตัวเลข สถานการณ์คนไร้ทีพึ่ง ปี 2561 โดยระบุว่า ณ สิ้นปี 2561 มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะซึ่งอยู่ในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานครจำนวน 3,993 คน เพิ่มขึ้น 363 คน หรือเพิ่มขึ้นราว 10 % จากปี 2560 ซึ่งอาจมองว่าไม่มากเท่าไหร่ แต่ภาพปัญหาชัดเจนมากขึ้น เนื่องมาจากการจัดระเบียบเมือง ที่ส่งผลกระทบ ชัดเจน ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ หรือคนเร่ร่อน ที่เคยรวมกันอยู่ไม่กี่แห่ง เช่น แถวพาหุรัด สนามหลวง คลองหลอด แต่พอเกิดการจัดระเบียบแทนที่จะช่วยพวกเขาได้ แต่กลับทำให้คนเร่ร่อนกระจัดกระจายตามที่ต่างๆ ปัญหาสำคัญของคนเร่ร่อนประการหนึ่งก็คือมีคนเร่ร่อนจำนวนมากไม่มีบัตรประชาชน ทำให้ไม่ได้รับสวัสดิการแห่งรัฐ กลายเป็นประชาชนชายขอบ เข้าไม่ถึงสวัสดิการต่างๆ นั่นเอง ยิ่งในกรณีเจ็บป่วยทั้งทางกายและทางจิต ก็ยิ่งทำให้พวกเขาประสบความยากลำบาก ดังนั้นอายุขัยของคนเร่ร่อนจึงมักสั้นกว่าปกติ ในขณะที่ประชากรไทยมีอายุขัยอยู่ประมาณ 75.1 ปี แต่คนเร่ร่อนน่าจะมีอายุขัยต่ำกว่านี้มาก ดร.โสภณเชื่อว่าอาจมีอายุประมาณไม่ถึง 50 ปี อย่างไรก็ตามในกรณีสหราชอาณาจักร ผลสำรวจล่าสุดเมื่อสิ้นปี 2561 พบว่าคนเร่ร่อนอังกฤษมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 44 ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตามในประเทศไทยคงไม่มีหน่วยราชการใดที่จะช่วยเหลือคนเร่ร่อนได้เท่าที่ควร เพราะมีงบประมาณจำกัด อย่างเช่นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีงบประมาณอยู่เพียง 12,863,513,700 บาท ลดลงจากงบประมาณปี 2561 ที่ 13,717,537,300 บาท 6.3% ในขณะที่งบประมาณแผ่นดินปี 2562 อยู่ที่ 3 ล้านล้านบาท แสดงว่างบประมาณของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มีสัดส่วนเพียง 0.4% ของงบประมาณแผ่นดิน การที่รัฐบาลเจียดงบประมาณให้กับสวัสดิการสังคมน้อย คนเร่ร่อนจึงไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร
ที่มา : www.lokwannee.com/web2013/?p=342381