-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ธปท.จะอยู่ข้างนายทุนที่ดิน-นายธนาคาร หรือประชาชน?
17 ต.ค. 2018

ธปท.จะอยู่ข้างนายทุนที่ดิน-นายธนาคาร หรือประชาชน?

เมื่อบ่ายวันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2561 ดร.โสภณ ได้รับเชิญจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ไปแสดงความเห็นต่อแนวนโยบาย Macroprudential สำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มีนักพัฒนาที่ดิน นายธนาคารใหญ่น้อย ไปแสดงความเห็นกันมากมาย ถ้าเราเห็นแก่ประโยชน์ประชาชนจริงๆ ธปท. สมควรมีนโยบายอย่างไร ตอนดร.โสภณ ฟังอยู่พบว่า 1.นักพัฒนาที่ดินบางคนอ้างผลประโยชน์ที่ผู้ซื้อบ้านจะได้รับ ทั้งที่พูดเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง กลัวคนไม่ซื้อ จะไม่ได้ขายดีและได้กำไรสุทธิขั้นต่ำ 20% 2.นายธนาคารก็ปกป้องประโยชน์ในการได้ดอกเบี้ยของตน อยากให้กู้สูงๆ แม้ราคาบ้านจะเป็นเงิน 1 ล้าน ก็อาจให้กู้ถึง 1.15 ล้าน 3.ศูนย์ข้อมูลของธนาคารบางแห่งอ้างว่ากลัวลูกค้าจะไม่มีกำลังซื้อบ้านหากต้องดาวน์บ้านถึง 20% 4.สื่อต่างๆมักลงแต่ความเห็นของพวกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับรู้อะไรที่เป็นจริง ดร.โสภณ เห็นว่า 1.ธปท. ควรกำหนดให้สถาบันการเงินอำนวยสินเชื่อในวงเงิน 80% ของมูลค่าตลาด เพราะการให้สินเชื่อแทบ 100% เช่นทุกวันนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสถาบันการเงิน 2.สำหรับมาตรการป้องกันการเก็งกำไร การลงทุนซื้อเพื่อปล่อยเช่า การผ่องถ่ายเงินจากระบบสถาบันการเงินไปสู่ธุรกิจนอกระบบ ธปท. ควรดำเนินการโดย ประการแรก การเพิ่มสัดส่วนเงินดาวน์ให้สูงขึ้นอีก 3.เมื่อให้มีเงินดาวน์มากขึ้น ธปท. ก็ควรส่งเสริมการให้ระบบคุ้มครองเงินดาวน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) มีผลบังคับใช้เป็นภาคปฏิบัติ ที่ผ่านมายังเป็นแบบอาสาสมัคร 4.ควรมีการจัดเก็บภาษีการซื้อบ้านหลังที่สอง 5.ธปท. ไม่ควรให้สถาบันการเงินประเมินค่าทรัพย์สินเอง 6.ธปท. ควรส่งเสริมการใช้ระบบประกันภัยวิชาชีพ 7.เพิ่มประสิทธิภาพการขายบ้านมือสองของประชาชนด้วยกันเอง หรือของสถาบันการเงิน หรือของกรมบังคับคดี เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการซื้อบ้านมากขึ้น 8.ธปท. ควรขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงประมาณ 1% แต่คงดอกเบี้ยเงินฝาก 9.ธปท. ควรเฝ้าระวังพื้นที่หรือภาคส่วนที่อาจมีความเสี่ยงสูงหรือมีอุปทานคงเหลือมากเป็นพิเศษในพื้นที่เหล่านี้ ควรขอความร่วมมือผู้ประกอบการอย่าได้ผลิตเพิ่มที่อยู่อาศัยมากจนเกินไป
ที่มา : www.lokwannee.com/web2013/?p=327436