-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ‘ศูนย์เศรษฐกิจกรุงเทพฯ-ปริมณฑล’ ผังเมืองกับแผนบูรณาการร่วมภาครัฐ-เอกชน
27 พ.ค. 2018

‘ศูนย์เศรษฐกิจกรุงเทพฯ-ปริมณฑล’ ผังเมืองกับแผนบูรณาการร่วมภาครัฐ-เอกชน

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของศูนย์เศรษฐกิจกรุงเทพฯและปริมณฑล ยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายการขนส่งทางราง” นอกจากการวางผังสร้าง “ศูนย์เศรษฐกิจ” ให้มีความกระชับแล้วสหรัฐอเมริกายังสนับสนุนให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งทางรางในพื้นที่เขตเมือง ทั้งนี้จากประสบการณ์การพัฒนาเมืองตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth Principles) ได้ชี้ให้เห็นว่าระบบขนส่งมวลชนเป็นโครงข่ายการสัญจรสีเขียว (Green Mobility) ประเภทเดียวที่มีอิทธิพลต่อการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเมืองให้เกิดการกระชับ ช่วยส่งเสริมกิจกรรมเศรษฐกิจให้หนาแน่นบริเวณรอบสถานี ที่สำคัญคือการมีอิทธิพลทางตรงต่อการสร้างเมืองแห่งการเดิน (Walkable City) และการยกระดับการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจให้เติบโตในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ในการคาดการณ์การเติบโตของ “ศูนย์เศรษฐกิจใหม่ของกรุงเทพฯและปริมณฑล” ผู้เขียนได้ศึกษาจากสภาพปัจจุบันตามเกณฑ์ Smart Growth เน้นความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและการขนส่งทางรางในบริเวณที่รัฐและเอกชนได้ลงทุนไว้แล้ว และในบริเวณที่รัฐหรือเอกชนได้วางแผนการลงทุนในอนาคต โดยโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวได้แก่ ท่าอากาศยาน รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าในเมือง รถขนส่งมวลชนระบบรอง โครงข่ายถนน โครงข่ายทางด่วนและโครงข่ายการขนส่งทางนํ้า
ที่มา : www.thansettakij.com/content/283116