-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ถ้าธนาคารประเมินทรัพย์เองก็ขาดธรรมาภิบาล-CSR?
23 พ.ค. 2018

ถ้าธนาคารประเมินทรัพย์เองก็ขาดธรรมาภิบาล-CSR?

ความรับผิดชอบต่อสังคม ระบุชัดว่าจะต้องรับผิดชอบต่อลูกค้าและคู่ค้าอย่างเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ รวมทั้งการมีธรรมาภิบาลหรือ Good Governance ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสหประชาชาติก็คือ การมีธรรมาภิบาลที่ไม่เอาเปรียบ ไม่มีการทุจริต และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ถ้าธนาคารประเมินค่าทรัพย์สินเอง ความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นหรือไม่ คนปล่อยกู้เป็นคนประเมินเองอย่างนี้สมควรแล้วหรือ ที่ผ่านมาธนาคารอ้างว่า “ถูกกว่า” หากประเมินเอง ทั้งที่ขัดกับความเป็นจริง การจ้างทำของ (Outsourcing) กลับถูกกว่าและมีหลักประกันมากกว่าการทำเองของธนาคาร ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2542 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประเมินเองได้ถ้าทรัพย์ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท นัยว่าธนาคารแบกรับค่าจ้างประเมินไม่ไหวในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงการใช้ผู้ประเมิน In house มีต้นทุนแพงกว่า เหตุผลที่อ้างเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการ Outsourcing ให้บริษัทประเมินภายนอกทำอย่างไรก็ถูกกว่า ไม่ต้องรับผิดชอบพนักงานมาก แต่น่าแปลกธนาคารแห่งประเทศไทยกลับยอมทำตามที่ธนาคารเสนอโดยดุษณีได้อย่างไร ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2542 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประเมินเองได้ถ้าทรัพย์ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท นัยว่าธนาคารแบกรับค่าจ้างประเมินไม่ไหวในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงการใช้ผู้ประเมิน In house มีต้นทุนแพงกว่า เหตุผลที่อ้างเป็นไปไม่ได้เลย เพราะการ Outsourcing ให้บริษัทประเมินภายนอกทำอย่างไรก็ถูกกว่า ไม่ต้องรับผิดชอบพนักงานมาก แต่น่าแปลกธนาคารแห่งประเทศไทยกลับยอมทำตามที่ธนาคารเสนอโดยดุษณีได้อย่างไร สรุปถ้าทรัพย์สินที่ประเมินไม่เกิน 10 ล้านบาท สถาบันการเงินใช้ผู้ประเมินภายในหรือจะใช้ผู้ประเมินภายนอกก็ได้ แต่ถ้าเกินจากนี้ต้องดูเงื่อนไขจากข้อ 2.1 และ 2.2 การกระทำอย่างนี้ธนาคารก็กินรวบ ก็เท่ากับธนาคารประเมินกันเองได้ แล้วอย่างนี้ความเป็นกลางไปอยู่ที่ไหน ประมาณว่าแต่ละธนาคารใหญ่ๆมีผู้ประเมินค่าทรัพย์สินเอง ในด้านวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน ถ้าต่อไปแทบทุกธนาคารทำเอง แล้วบริษัทประเมินจะอยู่รอดได้อย่างไร ความเป็นธรรมจะมีไหมในการอำนวยสินเชื่อ นี่เท่ากับเป็นการทำลายวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินไม่ให้เป็นอิสระ และกลายเป็นเพียงเครื่องมือของสถาบันการเงิน การให้วิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินมีอิสระไม่ใช่เป็นการหางานทำให้กับนักวิชาชีพนี้ แต่ใช้วิชาชีพนี้ในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบต่างๆ ผู้ประเมินจะต้องมีความรับผิดชอบต่อความเป็นกลางของตนเอง ยิ่งกว่านั้นการที่ธนาคารต้องแบกภาระการประเมินไว้เองต้องมีต้นทุนที่สูงกว่าใช้บริษัทประเมินเป็นอย่างมาก เช่น ค่าจ้างก็จะจ้างสูงกว่าบริษัทประเมิน และยังมีโบนัสและค่าตอบแทนอื่นอีกมาก การจ้างบริษัทประเมินยังสามารถเลือกจ้างได้นับร้อยแห่ง จากประสบการณ์วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ธนาคารหลายแห่งต่างให้ผู้ประเมินค่าทรัพย์สินออกจากงาน (Early Retire) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้วยซ้ำไป ถ้าธนาคารจะดำเนินการอย่างโปร่งใส เป็นหลักประกันสำหรับสังคมธุรกิจในด้านธรรมาภิบาลและ CSR ธนาคารจึงไม่ควรประเมินค่าทรัพย์สินเอง
ที่มา : www.lokwannee.com/web2013/?p=307843