-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ถอย 1 ก้าว “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” รัฐบาล คสช.แจกโปรโมชั่น “ลด 40%-ฟิกซ์ภาระภาษีป้องกันใช้ดุลพินิจ”
6 ก.พ. 2018

ถอย 1 ก้าว “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” รัฐบาล คสช.แจกโปรโมชั่น “ลด 40%-ฟิกซ์ภาระภาษีป้องกันใช้ดุลพินิจ”

ดร.พรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และกรรมาธิการพิจารณากฎหมายภายใต้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า กรอบเวลาในการผลักดันกฎหมายภาษีที่ดินฯ หรือพร็อพเพอร์ตี้ แท็กซ์ (property tax) ยังยืนยันกำหนดบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2562 ในภาพใหญ่ทำให้การจัดเก็บภาษีสามารถลดความเหลื่อมล้ำสำหรับผู้ถือครองทรัพย์สิน โดยประมาณการรายได้ภาษีในระบบเดิมที่เก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่ รัฐมีรายได้ตกปีละ 2.9 หมื่นล้านบาท ในอนาคตเมื่อมีการยกเลิกภาษี 2 ฉบับนี้ และใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาทดแทน คาดว่ารัฐมีรายได้ภาษีเพิ่มเป็น 4 หมื่นล้านบาท ย้อนเวลากฎหมายภาษีที่ดินฯ ยุครัฐบาล คสช. มีการหยิบนำมาผลักดันจนกระทั่งเป็นมติ ครม. ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 โดยร่างแรกซึ่งแยกเป็น 4 ประเภท มีเพดานจัดเก็บถือว่าสูง ทำให้มีเสียงคัดค้านดังระงมขึ้นมาในสังคม โดยเพดานภาษีที่ดินเกษตรกรรม 0.2%, ที่อยู่อาศัย 0.5%, พาณิชยกรรม 2% และที่ดินเปล่า 5% ต่อมาทาง สนช.เปิดเวทีประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายใหม่ โดยใช้เป็นเวทีประกาศข่าวดีด้วยการลดเพดานจัดเก็บลง 40% มีผลให้เพดานภาษีที่ดินเกษตรกรรมเหลือ 0.15%, ที่อยู่อาศัยเหลือ 0.3%, พาณิชยกรรมเหลือ 1.2% และที่ดินเปล่าเหลือ 3% เรื่องใหม่รอบนี้ดูเหมือนเป็นเรื่อง “อัตราจัดเก็บ” ทางกรรมาธิการที่เคยรับฟังความคิดเห็นประชาชนเมื่อเดือนธันวาคม 2560 มีการประกาศเพดานเกษตรกรรม 0.15% ที่อยู่อาศัย 0.3% พาณิชยกรรม (อื่น ๆ) 1.2% ที่ดินเปล่า 3%

ที่มา : https://www.prachachat.net/property/news-112802

วันที่ 6 ก.พ. 61