-
กลับไปหน้าแรกข่าว  หลักการดี และวิธีคิดชั่ว หนักกว่าภาษีที่ดิน
30 ก.ย. 2017

หลักการดี และวิธีคิดชั่ว หนักกว่าภาษีที่ดิน

ร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรนํ้าฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช. มีหลักการที่ดีก็คือ ใครที่ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมต้องจ่ายภาษี ไม่ใช่นำไปใช้ฟรี ๆ เช่น ในกรณีโรงงาน "กระทิงแดง" หากมีการใช้น้ำจำนวนมหาศาลจากเขื่อนอุบลรัตน์ (น้ำพอง) ก็ควรที่จะเสียภาษี หรืออีกนัยหนึ่งควรที่ซื้อน้ำไปใช้จึงจะสมควร แต่สำหรับชาวนาที่ต้องเสียค่าน้ำอัตราลูกบาศก์เมตรละ 0.5 บาทนั้น เป็นวิธีคิดที่ "ชั่วช้า" มาก เพราะคิดบนฐานว่าประชาชนชาวนาใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง เพราะขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ  จากข้อมูลการเกษตรพบว่า การใช้น้ำทำนานั้น มีปริมาณประมาณ 600 - 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ สมมติหากใช้น้ำ 900 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ก็ต้องเสียภาษีไร่ละ 450 บาท  ถ้าทำนาได้ 2 ครั้งก็เสีย 900 บาท  ถ้าทำนาปีละ 3 ครั้ง ก็จะเสียเป็นเงิน 1,350 บาท  ถ้าสมมติให้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสียปีละ 1,000 บาท และที่ดินเพื่อการเกษตร มีมูลค่าไร่ละ 100,000 บาท ก็เท่ากับเสียภาษี 1%  ในขณะที่ที่ดินเกษตรกรรมตามร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เกษตรกรที่มีที่ดินที่มีราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี และหากต้องเสียก็จะเสียภาษีในอัตราเพดานเพียง 0.2%  สิ่งที่รัฐควรดำเนินการก็คือการขายน้ำให้กับกิจการอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่ เช่น บริษัทกระทิงแดงแถวเขื่อนอุบลรัตน์ บริษัทเบียร์ เช่น เบียร์สิงห์ เบียร์ช้าง บริษัทของนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่นำน้ำดิบมาใช้ เป็นต้น แต่คงไม่ใช่ ณ อัตรา 3 บาทต่อลูกบาศก์เมตร เพราะเป็นอัตราที่สูงเกินจริง การจัดเก็บภาษีนี้ และโดยเฉพาะค่าสัมปทานน้ำบาดาล ยิ่งต้องมีการจัดเก็บที่สมเหตุสมผล หาไม่ก็จะเป็นการเพิ่มความไม่เท่าเทียมในสังคม 

ที่มา : https://prachatai.com/journal/2017/09/73487

วันที่ 30 ก.ย. 60