-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ บทเรียนจากปี 2540-2560
2 มิ.ย. 2017

ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ บทเรียนจากปี 2540-2560

สภาพการณ์ของอสังหาริมทรัพย์ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ปี 2540 ถือเป็นสภาพการณ์ของฟองสบู่อย่างชัดเจน คือ supplyในตลาดมีมาก แต่ยังคงมีผู้ซื้อราคาปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว มีการเก็งกำไร ทุกประเภทของอสังหาริมทรัพย์ บรรยากาศของการจองตั้งแต่ตี 5 ขายใบจอง2-3 ทอดในวันเดียวกัน หรือการซื้อขายที่ดินจากเจ้าของที่ดินเดิม กว่าจะถึงวันโอนมีการขายต่อกันหลายทอด ราคาอาจขึ้นไปกว่าเท่าตัว สภาพการณ์ที่ว่านี้เป็นสภาพการณ์ที่เราเห็นต่อเนื่องหลายปีในขณะนั้น แต่ทั้งนี้แม้ข้อมูลข้างต้นจะบ่งบอกว่าไม่มีสัญญาณของฟองสบู่และการเก็งกำไร ก็มิได้เกิดขึ้นในทุกๆ ประเภทเหมือนในอดีตแต่ข้อเท็จจริงในขณะนี้ก็คือราคาที่ดินสูงขึ้นรวดเร็ว ทั้งในเขตกรุงเทพฯปริมณฑลแลจังหวัดสำคัญในภูมิภาค รวมถึงช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็มีการลงทุนและหรือเก็งกำไร ในอาคารชุดบางทำเลเนื่องจากคาดว่าราคาจะปรับตัวขึ้นได้อีก สำหรับในภาคอสังหาริมทรัพย์อื่นๆโดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแนวราบไม่มีการเก็ง กำไรเกิดขึ้นเลยอาจมีบ้างสำหรับอาคารพาณิชย์ที่ซื้อเพื่อการลงทุน สำหรับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯก็อาจ มีแรงกดดันที่ต้องมีอัตราการเติบโตทุกๆปีซึ่งอันที่จริงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการซื้อขายที่อยู่อาศัย มิใช่ธุรกิจที่มีลักษณะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง(Snowball) เหมือนกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่นที่มีการใช้สินค้าซ้ำหรือมีการซื้อซ้ำ จึงเห็นว่าการที่ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ออกมาให้ข้อสังเกตในเรื่องฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แม้ข้อมูลจะบอกว่าไม่มี สัญญาณเกิดขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรประมาทกับภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อที่ถดถอยลงต่อเนื่องเช่นเดียวกับภาวะเศรษฐกิจ เพราะหากผู้ประกอบการทุกรายมีความมั่นใจในฐานะการเงิน มั่นใจในเทคโนโลยีก่อสร้างที่มีความรวดเร็วขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงกำลังซื้อ ที่ถดถอยลง และมิได้คำนึงถึงธรรมชาติของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่า เป็นธุรกิจซึ่งใช้แล้วไม่ได้หมดไป และที่อยู่อาศัยก็เป็นสินค้าใหญ่ คงทนใช้ได้นาน ชีวิตหนึ่งมิได้ซื้อหลาย ครั้ง ประกอบกับที่อยู่อาศัยมือ 2 ก็เริ่มมีบทบาทสำคัญในตลาดมากยิ่งขึ้น ความประมาทก็อาจนำมาซึ่งวิกฤตการณ์ได้

ที่มา : http://www.thansettakij.com/content/155345

วันที่ 2 มิ.ย. 60