-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
28 เม.ย. 2017

ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

                นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพแรงงานไทยที่มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท ว่า แรงงานไทยกว่า 97% ยังมีภาระหนี้ และก่อหนี้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยครัวเรือนละ 131,479 บาท เพิ่มขึ้น 10.43% จากปีก่อนหน้าที่มีการก่อหนี้ 119,061 บาท หรือเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปี อย่างไรก็ตาม ในจำนวนหนี้ที่สูงขึ้นนี้ไม่น่าเป็นห่วง เพราะเป็นการก่อหนี้เพื่อซื้อทรัพย์สินคงทน อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมที่เป็นการกู้เพื่อใช้จ่ายทั่วไปเป็นหลัก ผลการสำรวจพบว่า หนี้ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ และมีหนี้นอกระบบลดลง จากมาตรการของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการดึงหนี้นอกระบบกลับเข้ามาอยู่ในระบบ โดยเป็นหนี้ที่อยู่ในระบบ 46.4% จากปีก่อนที่มีสัดส่วน 39.38% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี ขณะที่หนี้นอกระบบมีสัดส่วน 53.6% ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มีสัดส่วน 60.62% ถือว่าลดลงสูงสุดในรอบ 4 ปีเช่นกัน สำหรับปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ ที่อยู่ที่ 78.6% นั้น เกิดจากรายได้ไม่เพิ่มขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าสูงขึ้น จนหมุนเงินไม่ทันจึงต้องการให้รัฐบาลช่วย เหลือด้วยการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 410 บาท ภายใน 3 ปี พร้อมทั้งควบคุมราคาสินค้า และช่วยเหลือเรื่องค่า ครองชีพให้สอดคล้องกับรายได้ แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ช่วยเหลือผู้ว่างงาน ดูแลประกันสังคม และค่ารักษาพยาบาล ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ให้เงินช่วยเหลือด้านสวัสดิการ เป็นต้น
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/925226​