-
กลับไปหน้าแรกข่าว  อีก 2 ปี ภาษีที่ดิน คสช. (6) แลนด์แบงก์ทุก ตร.ว.ต้องนำมาใช้ประโยชน์
25 เม.ย. 2017

อีก 2 ปี ภาษีที่ดิน คสช. (6) แลนด์แบงก์ทุก ตร.ว.ต้องนำมาใช้ประโยชน์

นายกนกศักดิ์ เชี่ยวศิลปธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท กาญจน์กนก จำกัด ดีเวลอปเปอร์เจ้าถิ่นเมืองเชียงใหม่ กล่าวถึงผลกระทบตลอดจนการเตรียมตัวรองรับว่า ทั้งนี้ทั้งนั้น ปี 2559 กลุ่มกาญจน์กนกมียอดรับรู้รายได้ 2,733 ล้านบาท มีมูลค่าเปิดตัวโครงการใหม่เฉลี่ยปีละ 5,000 ล้านบาท ถือว่าสูงกว่าบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ หลายรายด้วยซ้ำไป จริง ๆ เป็นนโยบายที่ดี มองว่าทำให้ที่รกร้างว่างเปล่าจะมีการนำมาใช้ประโยชน์ มาเช่าทำเกษตรก็ยังดีกว่า ยังสร้างงานสร้างรายได้ขึ้นมา และภาษีก็ไม่เยอะ รัฐบาลน่าจะออกมาเพื่อกดดันให้มีการนำที่ดินมาใช้ประโยชน์มากกว่า ในบทบาทของการเป็น ดีเวลอปเปอร์แน่นอนว่ามีความจำเป็นต้องจัดซื้อจัดหาที่ดินซึ่งเป็นวัตถุดิบ หลักในการพัฒนาโครงการโดยมีแลนด์แบงก์สะสมในมือขณะนี้มากกว่า 1,000 ไร่ แต่ละปีใช้ที่ดินพัฒนาโครงการ เฉลี่ยจำนวนยูนิตที่ก่อสร้างและส่งมอบให้กับลูกค้าน่าจะอยู่ประมาณ 800-1,000 ยูนิต แต่รวมคอนโดมิเนียมด้วยซึ่งใช้ที่ดินไม่เยอะ ตีคำนวณแนวราบเราทำปีละ 600 ยูนิต บนที่ดิน 50 ตารางวา และมีทาวน์โฮมด้วย น่าจะใช้ที่ดิน 150 ไร่ การประเมินผลกระทบต้องมอง 2 ฝั่ง ทั้งฝั่งผู้พัฒนาโครงการ กับฝั่งผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ในส่วนของฝั่งผู้บริโภค มีประเด็นทางเทคนิคที่ต้องคำนึงอีกนิดหน่อย ตรงที่แลนด์แบงก์สำหรับรอพัฒนาโครงการ รัฐลดหย่อนให้ 3 ปีแรก เสียในอัตราน้อยมาก 0.02% หรือล้านละ 200 บาท แต่หลังจากพ้นช่วง 3 ปีไปแล้วจะต้องมีภาระจ่ายภาษีแพงขึ้น เพียงแต่รายละเอียดยังไม่ชัดเจนว่าจะเสียในอัตราของ "ที่ดินพาณิชยกรรม" ซึ่งเริ่มต้น 0.3% หรือล้านละ 3 พันบาท หรือเสียในอัตรา "ที่อยู่อาศัย" ซึ่งเริ่มต้น 0.03% หรือล้านละ 300 บาท หมายความว่า ที่ดินเปล่าที่บริษัทนำมาพัฒนาโครงการ ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มก่อสร้าง-ขาย-โอน หากจบโครงการใน 3 ปี ผู้ประกอบการก็ไม่มีต้นทุนภาษีที่ดินฯเข้ามาบวกในราคาบ้าน แต่หากไม่สามารถปิดการขายภายใน 3 ปี มีผลทำให้ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปจนกว่าจะขายหมดโครงการ มีผลกระทบต้องจ่ายภาษีรายปีตามปกติ แน่นอนว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายถูกบวกเข้าไปในราคาบ้านโดยอัตโนมัติ

ที่มา : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1493009696

วันที่ 25 เม.ย. 60