-
กลับไปหน้าแรกข่าว  เฉ่งกม.ภาษีที่ดินกำมะลอ-ปาหี่...ขยายเวลาเช่าไม่ช่วย
3 เม.ย. 2017

เฉ่งกม.ภาษีที่ดินกำมะลอ-ปาหี่...ขยายเวลาเช่าไม่ช่วย

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหารศูนย์ข้อมูลวิจัยประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย และ ประธานกรรมการบริหาร บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส กล่าวในรายการ “เซียนเศรษฐกิจ” จัดขึ้นโดยกองบรรณาธิการ “ดอกเบี้ยธุรกิจ” ดึงเรื่องกฎหมายภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่ภาครัฐจะทำการพัฒนาที่ดินและที่ อยู่อาศัยไทยฉบับใหม่คงไม่มีผลกระทบอะไรเพราะว่าเป็นการจัดเก็บภาษีที่ดินตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป คือเมื่อก่อนจะเก็บตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไปเพราะ กลัวว่าประชาชนจะได้รับความเดือดร้อน แต่ตอนนี้จะเปลี่ยนมาจัดเก็บภาษีที่ดินราคาตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป เท่าที่นับดูราคาบ้าน 50 ล้านบาทขึ้นไปมีกว่า 1,000 หน่วยเท่านั้นเองในกรุงเทพฯ แต่ถ้าทั่วประเทศคิดว่าน่าจะประมาณ 5,000 หน่วย และถ้าเป็นบ้านหลังที่ 2 ก็จะต้องมีการจัดเก็บแล้วโดยให้เวลา 2 ปี แล้วใครจะไปถือรอ 2 หลัง ถ้าใครมีบ้าน 2 หลังก็จะทำการขายโอนให้ลูกหรือญาติให้ถือครองกันคนละ 1 หลัง จะได้ไม่เข้าข่ายการเสียภาษี สำหรับการแก้ไขกฎหมาย Lease Hold หรือสิทธิ์ในการเช่าจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 30 ปีให้เป็น 50 ปี ดร.โสภณ กล่าวว่า ปัจจุบันคนสามารถเช่าได้ 50 ปีอยู่แล้ว ถ้าเกิดจะเช่าเพื่อเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม แต่ถ้าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยก็ไม่จำเป็น และจริงๆแล้ว คนจะเช่ายาว 50-99 ปี ส่วนใหญ่มีปัญญาซื้ออยู่แล้ว ที่ผ่านมาการเช่า 30 ปีก็ถือว่าคุ้มแล้ว เช่น เซ็นทรัล ลาดพร้าว เช่ามา 30 ปีถือว่ารวยอู้ฟู้ อย่างล่าสุดหมดสัญญาเช่าแล้วก็ทำสัญญาเช่าใหม่ 30 ปีก็ถือว่าคุ้ม หรืออย่างทางด่วนโทลเวย์ก็ได้ทำสัญญาเช่าไว้ 30 ปีทั้งนั้น ดังนั้น สัญญาเช่า 30 ปีถือว่าเหลือเฟือแล้ว แก้กฎหมายให้เป็น 50 ปีก็ไม่ว่ากัน แต่คงจะไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจมากเท่าไหร่ เพราะตอนนี้อย่างที่เห็นการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยอาจจะลดลงไปบ้าง เนื่องจากประเทศไทยอาจจะยังมีความมั่นคงยังไม่มากนักก็เลยทำให้เกิดการลงทุน ล่าช้าบ้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมาของปี 2560 ดร.โสภณมองว่ามีการเปิดตัวโครงการต่างๆ ค่อนข้างน้อย ประมาณการว่า 2 เดือนที่ผ่านมาตัวเลขต่ำมากเลย แต่มองว่าใน 10 เดือนข้างหน้าการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์น่าจะดีกว่านี้ เชื่อว่ามูลค่าการเปิดตัวโครงการในปี 2560 น่าจะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2559 ประมาณ 18% ก็ถือว่าลดลงไปพอสมควรเพราะว่าภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ถ้ารัฐบาลกระตุ้นให้มีความคึกคักได้ก็น่าจะทำให้กำลังซื้อมีมากขึ้น อย่างตอนนี้ก็ต้องเก็บเบี้ยใกล้มือก่อน เพราะการให้แคมเปญดอกเบี้ยถูกทำให้ธนาคารเดินต่อไม่ได้เท่าที่ควร

ที่มา : https://www.dokbiaonline.com

วันที่ 3 เม.ย. 60