-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ‘รัฐบาลลุงตู่’โปร่งใสต่ำกว่า‘เจ๊ปู’? / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
2 ก.พ. 2017

‘รัฐบาลลุงตู่’โปร่งใสต่ำกว่า‘เจ๊ปู’? / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

การที่คะแนนความโปร่งใสของไทยในปี 2559 ต่ำกว่าปี 2558 และ 2557 สะท้อนภาพที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในด้านความโปร่งใสและการทุจริตคอร์รัปชัน โดยดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันประจำปี 2559 ผลคะแนนภาพลักษณ์คอร์รัปชันโลกนั้น ประเทศไทยได้ 35 คะแนน จาก 100 คะแนนเต็ม ต่ำกว่าคะแนนในปี 2537 และ 2538 ที่ได้ 38 คะแนน 2 ปีซ้อน อย่างไรก็ตาม ในระยะที่ผ่านมาแม้รัฐบาลปัจจุบันจะพยายามประกาศต่อสู้กับการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ แต่ยังปรากฏข่าวอยู่เนืองๆ การทุจริตกลายเป็น “เหตุการณ์ปรกติ” ไปแล้ว โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชการ (บางส่วน) เนื่องจาก 1.ขาดแนวคิดรับใช้ประชาชน เห็นประชาชนเป็นผู้อยู่เบื้องล่าง ข้าราชการกลายเป็นเจ้าคนนายคน เข้าทำนอง “สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง” 2.การไต่เต้ามาจากระบบ “ด.ว.ง.” ไม่ใช่ดวงดีหรือไม่ดี แต่หมายถึงว่าต้องขึ้นอยู่กับเป็น “ด.เด็กของใคร ว.วิ่งหรือไม่ และ ง.เงินถึงหรือเปล่า” หากมี ด.ว.ง. แล้ว โอกาสที่จะได้ตำแหน่งใหญ่โตก็จะเกิดขึ้น มาถึงปี 2559 ปรากฏว่าคะแนนความโปร่งใสกลับทรุดต่ำลงไปเหลือ 35 แสดงให้เห็นว่าภายใต้การปกครองแบบเบ็ดเสร็จนั้น ในแง่หนึ่งอาจจะดีในความรวดเร็ว แต่มีข้อเสียที่มีการอาศัยเส้นสายมากกว่าระบบที่มาจากการเลือกตั้งจาก ประชาชน ทำให้เกิดการระบาดของการฉ้อราษฎร์บังหลวงหนักข้อเข้าไปอีก โดยไม่สามารถตรวจสอบใดๆได้เลย เพราะบุคคลเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ทำหน้าที่นิติบัญญัติพร้อมพนักงานเท กระโถนอีกเป็นฝูง หรือฝ่ายบริหารพร้อมพนักงานเทกระโถนอีกมหาศาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนนั้น ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบใดๆได้เลย หากสถานการณ์เป็นอย่างนี้ไปอีกนานๆก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศชาติเสื่อม ทรุดได้ ความโปร่งใสกับประชาธิปไตยต้องไปด้วยกัน การวิเคราะห์นี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะหรือปัจจัยที่แทนด้วย ตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ ทิศทางความสัมพันธ์ และลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการวิเคราะห์โดยอาศัยค่าที่ทราบจากตัวแปรหนึ่ง แล้วนำไปพยากรณ์ค่าของอีกตัวแปรหนึ่งว่ามีความแปรผันในสัดส่วนเท่าใดหรือใน ระดับใดนั่นเอง โดยมีเพียง 2 ตัวแปร จึงใช้แบบ Simple Regression Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพียง 2 ตัวว่า การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรหนึ่งส่งผลต่ออีกตัวแปรหนึ่งอย่างไรในลักษณะที่เป็นเส้นตรง การให้คะแนนความโปร่งใสและคะแนนประชาธิปไตยใน 150 ประเทศนั้น สมมุติให้คะแนนอันดับ 1 เท่ากับ 10 คะแนน ส่วนอันดับสุดท้ายได้ 1 คะแนน นอกนั้นเรียงลำดับกันไป เพื่อนำคะแนนทั้ง 2 ตัวแปรมาวิเคราะห์ว่ามีความสัมพันธ์กันเพียงใด จากการวิเคราะห์การถดถอยพบว่าค่า R Square หรือค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ อยู่ที่ 0.743175 หรือประมาณ 74% และค่าเลขนัยสำคัญ หรือตัวเลขที่ได้จากการวัดเกือบเป็นศูนย์ จึงอาจพอสรุปได้ว่าความโปร่งใสกับประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์กันโดยนัยของการวิเคราะห์นี้จึงอาจอนุมานได้ว่า หากประเทศที่มีการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ความโปร่งใสก็จะน้อย เพราะตรวจสอบไม่ได้ หากใครไปตรวจสอบก็อาจพบกับ “เภทภัย” จากผู้มีอำนาจเผด็จการ เป็นต้น และยิ่งประเทศใดอยู่ในภาวะที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนานเข้าก็ยิ่งจะมีความโปร่ง ใสน้อยลง บรรดาผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจวาสนายศศักดิ์ (ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง) ก็ยิ่งคุ้นเคยและเสพติดอำนาจ ทำให้ประเทศยิ่งจะเลวร้ายลง

ที่มา : http://www.lokwannee.com/web2013/?p=256099

วันที่ 2 ก.พ. 60