-
กลับไปหน้าแรกข่าว  14 ตุลา: ประวัติศาสตร์ที่ต้องเขียนใหม่
15 ต.ค. 2019

14 ตุลา: ประวัติศาสตร์ที่ต้องเขียนใหม่

14 ตุลาคม 2516 ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ที่โค่นล้ม “3 ทรราช” ออกไปจากประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคประชาธิปไตยของประชาชน แต่ความจริงที่ซ่อนเร้นน่าจะมีมากมายที่ต้องเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ที่แตกต่างจากความเชื่อเดิม 1. ประวัติศาสตร์หน้านี้เป็นการวางแผนอย่างเป็นกระบวนการในการสร้างกระแสเกลียดชัง “3 ทรราช” 2. สาเหตุสำคัญหนึ่งของเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่มีการกล่าวถึงคือการสืบทอดอำนาจของ “3 ทรราช” แต่รัฐบาลประยุทธ์ที่ครองอำนาจจากรัฐประหารมา 5 ปี ก็ยัง “สืบทอดอำนาจ” เช่นกัน 3. การที่นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคลื่อนขบวนนักศึกษาประชาชนไปวังสวนจิตรฯ โดยพลการนั้น ในแง่หนึ่งอาจเป็นความบังเอิญ แต่ในแง่หนึ่งอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่าเป็นการรับแผนร้ายมาจากใครหรือไม่ 4. รัฐบาล “3 ทรราช” ในขณะนั้นไม่ได้หวังสร้างความรุนแรง 5. ที่มีข่าวลือว่า พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ยิงประชาชนบนถนนราชดำเนินนั้น พ.อ.ณรงค์ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งก็คงเป็นไปได้ตามนั้น 6. การเผาแล้วได้เป็นวีรชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา นั้นคล้ายกับการเผาในกรณีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 แต่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับการเผาในเหตุการณ์พฤษภา 2553 7. สถานที่หนึ่งที่ถูกเผาก็คือตึก กตป. 8. นอกจากการเผาแล้วยังมีการทุบทำลายไฟจราจรตามสี่แยกต่างๆ จำนวนมาก 9. ผู้เผาทำลายสถานที่ต่างๆ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และเหตุการณ์พฤษภา 2553 นั้น เห็นหน้าตาชัดเจน แต่ไม่เคยจับคนเผาได้ 10. รัฐบาลจอมพลถนอม พอเห็นเหตุการณ์บานปลาย จึงตัดสินใจลาออก และยอมที่จะออกนอกประเทศ ซึ่งแม้ในขณะนั้นจะกุมอำนาจเต็ม
ที่มา : prachatai.com/journal/2019/10/84758