-
กลับไปหน้าแรกข่าว  วิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
8 ก.พ. 2018

วิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สิน / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

คุณกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล สมัยเป็นผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ปี 2529 ได้ทำสิ่งที่น่าสรรเสริญโดยจ้างบริษัทประเมินอิสระดำเนินการประเมินแทนพนักงานธนาคารเพื่อให้เกิดความเป็นกลาง แต่เมื่อคุณกิตติเป็นรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กลับอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประเมินเองได้ถ้าทรัพย์ราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท นัยว่าธนาคารแบกรับค่าจ้างประเมินไม่ไหวในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งที่ความเป็นจริงการใช้ผู้ประเมิน in house มีต้นทุนแพงกว่า สรุปถ้าทรัพย์สินที่ประเมินราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท สถาบันการเงินจะใช้ผู้ประเมินราคาภายในหรือผู้ประเมินภายนอกได้ ทำอย่างนี้ธนาคารก็กินรวบ สิ่งที่เกิดขึ้นเท่ากับธนาคารประเมินกันเองได้ แล้วอย่างนี้ความเป็นกลางอยู่ที่ไหน ประมาณว่าแต่ละธนาคารใหญ่ๆมีผู้ประเมินค่าทรัพย์สินเอง เช่น ธนาคารกรุงเทพ 80 คน ธนาคารกรุงไทย 100 คน ธนาคารทหารไทย 120 คน ธนาคารไทยพาณิชย์ 200 คน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 170 คน ธนาคารยูโอบี 50 คน ธนาคารกสิกรไทย 400 คน และธนาคารธนชาต 20 คน ถ้าต่อไปแทบทุกธนาคารทำเอง แล้วบริษัทประเมินจะอยู่รอดได้อย่างไร ความเป็นธรรมจะมีไหมในการอำนวยสินเชื่อ ดร.โสภณ อยากให้บริษัทประเมินที่เป็นกลางประเมินเพื่อให้ต้องตามอารยสากลในความเป็นกลาง เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค ไม่ใช่เน้นไปที่ประโยชน์ของผู้ปล่อยกู้หรือแม้แต่บริษัทประเมิน ถ้าเราทำเพื่อสังคม วิชาชีพก็จะมีความหมาย ไม่ใช่แค่ตรายาง

ที่มา : http://www.lokwannee.com/web2013/?p=296941

วันที่ 8 ก.พ. 61