-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ไล่ผู้บุกรุกป้อมมหากาฬ / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
23 พ.ย. 2017

ไล่ผู้บุกรุกป้อมมหากาฬ / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

สวนสันติชัยปราการนับเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์และโบราณสถาน เป็นนันทนสถานอเนกประสงค์ที่ได้ประโยชน์ใช้สอยทั้งการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา และการอนุรักษ์ (ป้อมพระสุเมรุ) พื้นที่โดยรอบได้รับการออกแบบให้สามารถใช้เป็นที่ออกกำลังกายได้หลายประเภท หากวิเคราะห์มูลค่าสวนสันติชัยปราการจากผู้เข้าใช้สอยวันละ 2,000 ราย สมมุติในกรณีสวนสาธารณะ “ป้อมมหากาฬ” ซึ่งมีขนาด 6 ไร่เศษ น่าจะมีผู้เข้าใช้สอยใกล้เคียงกัน แต่อาจลดลงไป 20% เหลือ 1,600 คน เพราะรายล้อมด้วยสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงมากมายเช่นกัน หากไม่มีสวนสาธารณะก็อาจใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกาย Fitness First ซึ่งเสียเงินเดือนละ 2,400 บาท หรือวันละ 80 บาท แต่ต้องมีเครื่องออกกำลังกายมากมาย กรณีป้อมมหากาฬไม่มีบริการส่วนนี้ แต่มีแหล่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ให้ค่าใช้จ่ายลดลง 30% และมีต้นทุนการดำเนินการอีก 30% รวมค่าใช้จ่ายสุทธิคนละ 32 บาทต่อวัน ดังนั้น หากมีคนมาใช้บริการวันละ 1,600 คน ค่าใช้จ่ายหรือรายได้คนละ 32 บาทต่อวัน ก็จะเท่ากับวันละ 51,200 บาท หรือปีละ 18.69 ล้านบาท หากผู้บุกรุกครอบครองไปใช้อีก 10 ปี ณ อัตราดอกเบี้ย 5% ก็เท่ากับส่วนรวมต้องสูญเงินไป 144.32 ล้านบาท ดร.โสภณ ตั้งสมมุติฐานว่า เมื่อปี 2503 หากใครมาเช่าห้องเล็กๆอยู่ในพื้นที่ป้อมมหากาฬก็คงเป็นเงินห้องละ 100 บาทต่อเดือน แต่ถ้าเป็นในวันนี้ก็คงเป็นเงิน 2,000 บาทต่อเดือน คำนวณตั้งแต่ต้นพวก “กฎหมู่” อยู่ฟรีมาโดยไม่เสียค่าเช่าจนถึงวันนี้ พวกเขาเอาเปรียบสังคมเป็นเงินเท่าไร หากกรณีนี้ระหว่างปี 2503 ค่าเช่า 100 บาทต่อเดือน และปี 2560 ค่าเช่า 2,000 บาทต่อเดือน ก็จะพบว่าแต่ละปีค่าเช่าจะเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5% เศษ โดยประมาณการการเพิ่มขึ้นไว้เท่ากันโดยตลอด สมมุติฐานให้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5% เศษ เท่ากับอัตราเพิ่มของค่าเช่าเท่ากับ 5.40% ดังนั้น ค่าเช่าห้องในปี 2503 เป็นเงิน 100 บาทต่อเดือน ปี 2504 ขึ้นเป็น 105 บาทโดยประมาณ ปี 2505 เป็น 111 บาท และปี 2560 เป็นเงิน 2,000 บาทนั่นเอง

ที่มา : http://www.lokwannee.com/web2013/?p=289041

วันที่ 23 พ.ย. 60