-
กลับไปหน้าแรกข่าว  CSR กระทิงแดง‘ป่าห้วยเม็ก’ / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
21 ก.ย. 2017

CSR กระทิงแดง‘ป่าห้วยเม็ก’ / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้ส่งผู้ประเมินค่าทรัพย์สินออกสำรวจที่ดินแปลงดังกล่าว และพบข้อมูลดังนี้ 1.ที่ดินที่สาธารณะห้วยเม็กอยู่ในเขตบ้านหนองแต้ หมู่ 6 ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีสภาพเป็นป่ารกชัฏและป่าโปร่งบ้างในบางบริเวณ มีพื้นที่รวมตามที่ระบุคือ 31.5 ไร่ ที่ทางราชการระบุว่า “ปัจจุบันมีสภาพแห้งแล้ง ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ราษฎรไม่ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้ว และไม่ได้เป็นพื้นที่รับน้ำในฤดูฝนแต่อย่างใด” สภาพในความเป็นจริงยังมีการกักเก็บน้ำไว้และประชาชนน่าจะใช้ประโยชน์ร่วมกัน ได้ 2.“กระทิงแดง” ได้กว้านซื้อที่ดินบริเวณนี้มาตั้งแต่ปี 2555 โดยปรากฏว่าในปัจจุบันที่สาธารณะห้วยเม็กกลายเป็น “ไข่แดง” อยู่กลางที่ดินของ “กระทิงแดง” อย่างไรก็ตาม ตามแผนที่น่าจะมีทางสาธารณะเข้าถึงจากถนนใหญ่ (ท.ล.4003) 3.ในการกว้านซื้อที่ดินที่ผ่านมา ที่ดินที่เป็นนามีการซื้อขายกันในราคา 200,000 บาท ที่ดินติดถนน (ท.ล.4003) มีราคาประมาณ 500,000 บาทต่อไร่ แต่ปัจจุบันเรียกขายเกินกว่านี้ราว 3 เท่า ที่ดินที่เป็นที่นาสวนโดยรอบในปัจจุบันมีราคาประมาณ 200,000 บาทต่อไร่ 4.จากการศึกษาเปรียบเทียบเบื้องต้นประมาณการว่า มูลค่าของที่ดิน 31.5 ไร่ ที่เป็นที่สาธารณะหนองเม็กนี้น่าจะมีราคาไร่ละ 280,000 บาท หรือเป็นเงินประมาณ 8.82 ล้านบาท หรือราว 9 ล้านบาท หากที่ดินแปลงนี้เป็นของเอกชน “กระทิงแดง” อาจต้องซื้อในราคาที่สูงกว่านี้มาก เพราะจำเป็นต้องใช้พื้นที่ 5.ที่ว่าประชาชนไม่ได้ใช้ประโยชน์นั้นอาจไม่เป็นจริง เพราะประชาชนยังสามารถใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ หรือเก็บของป่า ฯลฯ ข่าวข้างต้นนี้อาจเป็นการทำร้ายภาพลักษณ์ของบริษัท ซึ่ง ดร.โสภณในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เคยบรรยายในระดับปริญญาเอก และได้รับรางวัลการบริหารองค์กรจนได้รับรางวัล CSR มีข้อเสนอแนะต่อบริษัทกระทิงแดงดังนี้ 1.การทำ CSR ไม่ใช่การบริจาคเป็นสำคัญ ไม่ใช่การสร้างภาพ แต่เป็นการสร้างแบรนด์ (ไม่ใช่ทำลายหรือทำร้ายแบรนด์) ประกอบด้วยการทำให้ถูกต้องตามกฎหมายและครรลองคลองธรรมโดยเคร่งครัด และการมีมาตรฐานและจรรยาบรรณทางธุรกิจที่มีจริยธรรม ไม่เบียดเบียนทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้า ชุมชนโดยรอบ และสังคมโดยรวมอีกด้วย 2.การประกาศไม่เช่าป่าชุมชนดังกล่าวของบริษัทเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการ ทำ CSR ของบริษัทเอง แต่ควรประกาศแผนการสนับสนุนการบริหารจัดการป่าชุมชนแห่งนี้เพื่อประโยชน์ของ ชุมชน และเป็นประโยชน์ต่อพนักงานของบริษัท ซึ่งส่วนมากก็คงเป็นคนในชุมชนอีกด้วย โดยมีงบประมาณและการสนับสนุนอื่นประกอบเป็นรายปีให้เห็นภาพชัดเจนว่ามีเจตนา ที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อชุมชน 3.ที่ผ่านมาที่บริษัทซื้อที่ดินล้อมรอบป่าชุมชนแห่งนี้อาจทำให้สังคมเข้า ใจว่าบริษัทมีความตั้งใจที่จะครอบครองที่ดินป่าผืนนี้ และป่านี้มีทางเข้าออกสาธารณะ บริษัทจึงควรบำรุงทางเข้าออกสาธารณะนี้เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเข้าใช้ พื้นที่ได้ตามสมควร จะได้ไม่เกิดการประท้วงบริษัท ซึ่งเป็นการทำร้ายภาพพจน์ของบริษัทได้ 4.การที่บริษัทมาตั้งอยู่ในบริเวณนี้ วัตถุประสงค์ก็อาจหวังใช้ทรัพยากรน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์เพื่อใช้ผลิตน้ำดื่ม หรือไม่ หรือเจาะน้ำบาดาลเพื่อการนี้ การแสดงตัวเลขการเช่าที่ดินหรือการจ่ายค่าสัมปทานขุดเจาะน้ำบาดาลอย่าง ยุติธรรมจึงเป็นกิจกรรม CSR อีกอันหนึ่งที่ควรเปิดเผยเพื่อความโปร่งใสเป็นที่ยอมรับของสังคม ข้อนี้บริษัทควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะเขื่อนนี้สร้างมาเพื่อการเกษตรกรรมเป็นสำคัญ การ (อาจ) จะใช้น้ำจำนวนมากเพื่อการอุตสาหกรรมจึงควรมีแผนการที่แน่ชัด หาไม่หากมีปัญหาการแย่งชิงน้ำกับประชาชนในพื้นที่จะทำร้ายภาพพจน์ของบริษัทได้อีก 5.การมีแผนด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษเป็นสิ่งที่บริษัทควรประกาศชัดเจน เพราะเมื่อโรงงานเริ่มดำเนินการอาจจะก่อปัญหามลพิษในทางใดทางหนึ่งต่อชุมชน บริษัทมีแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านี้อย่างไรบ้าง และหากเกิดมลพิษขึ้น บริษัทมีกองทุนในการแก้ไขปัญหาอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะทำให้ชุมชนโดยรอบมีความไว้วางใจบริษัท การมี CSR ที่จับต้องได้และมีคุณค่าเช่นนี้ จะทำให้บริษัทได้รับความเชื่อถือจากสังคม และเป็นการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืนแก่บริษัทเอง

ที่มา : http://www.lokwannee.com/web2013/?p=282721

ที่มา : http://www.newsjs.com/th/csr-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%

วันที่ 21 ก.ย. 60