-
กลับไปหน้าแรกข่าว  วิธีคิดค่าเสียหายปิดเหมืองทอง / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
8 ก.ย. 2017

วิธีคิดค่าเสียหายปิดเหมืองทอง / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

ค่าความเสียหายกรณีสั่งปิดเหมืองทองคำพิจิตรว่ากันว่าประมาณ  30,000 ล้านบาท ถ้าจริงจะต้องไปเก็บกับใครก็เรื่องหนึ่ง แต่ที่เกี่ยวกับการลงทุนคือวิธีการคิดค่าเสียหาย สมมุติว่าดอกเบี้ยปีหนึ่ง 7% ระยะเวลาที่สมมุติไว้ให้ทำเหมืองต่อได้ 15 ปี ก็จะเป็นเงินกำไรที่เขาควรได้รับแต่ไม่ได้รับเพราะถูกปิดเป็นเงินเท่ากับ 25.12902201 เอาเงิน 30,000 ล้านบาทมาตั้ง หารด้วย 25.12902201 จะเป็นเงิน 1,193.838741 บาท คงที่โดยเฉพาะในปีแรกต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปี โดยมีดอกเบี้ยสมมุติที่ 7% ที่น่าเป็นห่วงคือเงินชดเชย ผมเคยให้ความเห็นไว้ว่า นักวิเคราะห์ชี้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจต้องใช้เงินส่วนตัวนับหมื่นล้านชดใช้ปมมาตรา 44 ปิดเหมืองทองอัคราเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559 หรือ คสช. ต้องชดเชยค่าเสียหาย เพราะถือเป็นการกระทำที่ผิดพลาดของตนเองและคณะ กรณีข้างต้นชี้ให้เห็นว่าถ้าบริษัททำเหมืองมีรายได้สุทธิหรือกำไรปีละ 1,193.8 ล้านบาท และมีรายได้อย่างนี้ทุกปี จะเพิ่มพูนเป็นเงิน 30,000 ล้านบาทเมื่อสิ้นสุดอายุของสัญญา สมมุติอีก 15 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2575) ก็จะเป็นเงิน 30,000 ล้านบาทเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม รายได้ของกิจการอาจไม่ได้มีแค่ที่คำนวณ ความเป็นจริงอาจสูงกว่านี้ ซึ่งต้องดูจากงบการเงินของบริษัทด้วย ถ้าคิดจากตัวเลขจริงในปัจจุบันแสดงว่าบริษัทมีรายได้สุทธิสูงกว่านี้แน่นอน โดยคำนวณจากสูตร = (1-(1/((1+i)^ปี))/i ให้ i คือ 7% ส่วนปีคือ 15 ปี ผลจะออกมาดังนี้ = (1-(1/((1+7%)^15)))/7% = 9.107914005 เอาเงิน 30,000 ล้านบาทมาตั้ง หารด้วย 9.107914005 ก็จะเป็นเงิน 3,293.838741 บาท แสดงว่า ณ ปัจจุบัน บริษัทอาจมีกำไรปีละ 3,293.8 ล้านบาท แต่ถ้าไม่ได้ทำธุรกิจไป 15 ปี สิ่งที่พึงจะได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายไปแล้วคือกำไรเป็นเงินปีละ 3,293.8 ล้านบาท ก็จะรวมกันเป็นเงิน 30,000 ล้านบาท ณ มูลค่าปัจจุบันนั่นเอง การสูญเสียโอกาสเหล่านี้ไปเท่ากับค่าใช้จ่ายที่ คสช. ต้องรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 44 สามารถออกคำสั่งได้โดยหัวหน้า คสช. ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญา แต่นั่นเป็นสิ่งที่บังคับใช้ในกรณีประเทศไทย ส่วนกรณีระหว่างประเทศอาจไม่สามารถอ้างมาตรา 44 ได้ โดยนัยนี้เราจึงต้องจ่ายเงินค่าเสียหายให้กับบริษัท ซึ่งหากนำเงินภาษีอากรของประชาชนไปจ่ายก็เท่ากับสร้างความเสียหายแก่ประชาชนได้

ที่มา : http://www.lokwannee.com/web2013/?p=281145

วันที่ 8 ก.ย. 60