-
กลับไปหน้าแรกข่าว  วัดป่าสุคะโตไม่มีเอกสารสิทธิ! / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
10 ส.ค. 2017

วัดป่าสุคะโตไม่มีเอกสารสิทธิ! / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

“ตำนานวัดป่า (สุคะโต)” อ้างว่า “ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งช่วยกันบริจาคผืนดินที่จับจองแล้วสลับแลกเปลี่ยนกันเองจน ได้เป็นแปลงใหญ่ที่มีผืนป่าติดต่อกันผืนใหญ่ รวมเนื้อที่แล้วประมาณ 500 ไร่ เมื่อหลวงพ่อบุญธรรมได้ป่าขนาดใหญ่มาตั้งเป็นอารามสงฆ์แล้วนั้น ท่านก็ได้สร้างกุฏิเล็กๆอยู่อย่างสมถะ ใช้ชีวิตกลมกลืนกับป่า ปกป้องต้นไม้และสัตว์” แต่ในอีกช่วงหนึ่งก็เขียนว่า “ปี 2514 พนักงานตีตราไม้ของบริษัทสัมปทานรุกเข้ามาเกือบถึงกุฏิหลวงพ่อ พร้อมกับแสดงหลักฐานเอกสารอันถูกต้องตามกฎหมายถึงสัมปทานบัตรอันทับบนที่ อารามสงฆ์ วัดป่าก็ถูกย่ำยีอย่างถูกกฎหมายจากพ่อค้าไม้ เพียง 3 วันเท่านั้นต้นไม้ที่ถูกตีตราก็ถูกโค่นจนหมดป่า” ข้อนี้แสดงชัดว่าวัดรุกเข้าไปในเขตป่า และตั้งอยู่อย่างผิดกฎหมาย สำหรับวัดป่าสุคะโตเองครอบครองพื้นที่ป่า (ดูแผนที่ DSI) อยู่ประมาณ 500 ไร่ ในบริเวณหมู่ที่ 8 บ้านใหม่ไทยเจริญ ตำบลท่ามะไฟหวาน อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ (พิกัดทางภูมิศาสตร์ : Lat: 16.14821 Lon: 102.08634) และระบุว่าอยู่ในพื้นที่สวนป่าเกษตรสมบูรณ์ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่อยู่ในการควบคุมของกรมป่าไม้ ซึ่ง อ.อ.ป. โอนให้แล้ว และอยู่ในความดูแลของหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชย.9 (ท่ามะไฟหวาน) ชัยภูมิ อาคารสิ่งปลูกสร้างบริเวณวัดป่าสุคะโต มีกุฏิ ศาลา อาคารปฏิบัติธรรม หอไตร ห้องน้ำ ห้องครัว (รวมประมาณ 120 หลัง) จากเริ่มต้นเพียงไม่กี่หลังเมื่อ 50 ปีก่อน มีจำนวนพระ-แม่ชีประมาณ 30-40 รูป ลูกจ้างประมาณ 4-5 คน อาคารเหล่านี้สร้างในเนื้อที่ประมาณ 70 ไร่ มีบ่อน้ำประมาณ 30 ไร่ ที่เหลืออีก 400 ไร่มีสภาพเป็นป่าที่ได้รับการฟื้นฟูและไม่ได้มีการใช้สอย สิ่งที่แสดงการใช้พื้นที่ป่าในแง่หนึ่งคือ วัดป่าสุคะโตเข้าร่วม “โครงการพระสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้” ของศูนย์ป่าไม้จังหวัดชัยภูมิ โครงการนี้มีมาตั้งแต่ปี 2538 แต่วัดป่าสุคะโตเพิ่งเข้าร่วม 4-5 ปีแล้ว โอกาสที่วัดจะสามารถอยู่ต่อไปได้จึงขึ้นอยู่กับว่าวัดไม่ทำผิดเงื่อนไขต่างๆ เช่น ไม่ทำให้พื้นที่เปลี่ยนสภาพ หรือคงสภาพป่าไว้ให้ได้มากที่สุด แม้แต่ที่ ส.ป.ก. ก็อาจถูกยึดคืนได้หากมีนายทุนเข้าครอบครอง การให้วัดเช่าที่ให้ถูกต้องก็ตาม การให้วัดร่วมมือกับทางราชการก็ตาม การออกเอกสารสิทธิให้วัดและให้วัดซื้อจากทางราชการ (โดยอาศัยปัจจัยจากการบริจาค) ย่อมจะทำให้การบริหารจัดการที่วัดมีความชัดเจนยิ่งขึ้น สรุปว่าวัดพระธรรมกายซื้อที่มีโฉนดมาสร้างวัด พุทธะอิสระก็ซื้อที่มาปลูกป่าแม้ไม่มีเอกสารสิทธิถูกต้อง มหาจำลองก็มีคนบริจาคที่ให้ (แม้ที่ ส.ป.ก. บริจาคไม่ได้) แต่วัดป่าสุคะโตที่พระไพศาลเป็นเจ้าอาวาสไม่มีแม้กระทั่งเอกสารสิทธิ แต่ครองที่ดินถึง 500 ไร่!?! เราจะบริหารจัดการที่ดินวัดอย่างไรดี

ที่มา : http://www.lokwannee.com/web2013/?p=277796

วันที่ 10 ส.ค. 60