-
กลับไปหน้าแรกข่าว  นักวิชาการจุฬาชวนมอง 'รถไฟไทยจีน' ใครได้ใครเสีย
23 มิ.ย. 2017

นักวิชาการจุฬาชวนมอง 'รถไฟไทยจีน' ใครได้ใครเสีย

 

สำหรับขณะนี้ประเด็นที่ร้อนแรงคงหนีไม่พ้นเรื่องการสร้างรถไฟความเร็วสูง ที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับจีน โดยรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จนถึงขั้นต้องออกเป็นคำสั่ง คสช. ตามมาตร 44 เพื่อปลดล็อค ให้การดำเนินการสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย คือช่วง กรุงเทพฯ – นครราสีมา ระยะทาง 252.5 กม. แต่เริ่มทดลองสร้างที่ 3.5 กม. ก่อน  ไม่นานที่มีคำสั่งดังกล่าว ก็ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย ทั้งคนในแวดวงการเมือง แวดวงวิชาชีพสถาปนิก วิศวะ รวมถึงประชาชน โดยส่วนหนึ่งก็เห็นว่าการออกคำสั่งดังกล่าวจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี แม้ว่า ฝ่ายรัฐบาลจะยืนยันว่า ทำเพื่อพัฒนาประเทศชาติ และจะทำอย่างโปร่งใสก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของเวทีจุฬาฯเสวนาครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “รถไฟไทย – จีน: ใครได้ ใครเสีย” เพื่อหาคำตอบนี้ในมุมมองของนักวิชาการหลากสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องนี้ทาง ผศ.วรศักดิ์ มหัธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวว่าตั้งแต่จีนปฏิรูปประเทศ น่าสนใจที่ว่า เวลาเขาพัฒนาเขามีแผนแม่บท แต่ละช่วงจะมีคำขวัญเป็นระยะขึ้นกับผู้นำ ตั้งแต่ 10 ปี แรก 1979 - 1989 เขาเน้นการพัฒนาภายใน ด้วยแบบเสรีนิยมใหม่ ซึ่งไทยเรา ไม่ค่อยเกี่ยวข้อง เว้นเสียว่าเขาจะชวน โดยในปี 1990 ถ้ายังจำได้ คือจีนรุกเข้ามาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือที่จีนเรียกว่า สี่เหลี่ยมทองคำ เรารุกไปยังประเทศรอบๆของเขา เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/760945

วันที่ 23 มิ.ย. 60