-
กลับไปหน้าแรกข่าว  ความอัปยศ‘ภาษีมรดก’ / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
16 มิ.ย. 2017

ความอัปยศ‘ภาษีมรดก’ / โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

กรมสรรพากรกำหนดว่า ภาษีการรับมรดกเกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกตาย ผู้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละรายได้รับมรดกสุทธิมาในคราวเดียวหรือหลายคราวรวม กันมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด บทความที่ดร.โสภณ อ้างใช้ข้อมูลถึงเดือนมกราคม 2560 แต่ข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 (ในรอบครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2560 ตุลาคม 2559-มีนาคม 2560) พบว่ายังไม่มีการจัดเก็บภาษีมรดกเช่นเดิม ยิ่งกว่านั้นยังพบว่าการจัดเก็บภาษีหลายรายการมีนัยน่าสนใจคือ 1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง แสดงว่ารายได้ของประชาชนลดลง ยิ่งกว่านั้นภาษีรถจักรยานยนต์ซึ่งใช้สอยโดยผู้มีรายได้น้อยและปานกลางก็ลด ลงด้วย 2.ภาษีรถยนต์ที่ใช้โดยผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงเก็บได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งภาษีเบียร์ สุราเก็บได้เพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะความเครียดทำให้บริโภคมากขึ้นหรืออย่างไร จะเห็นได้ว่าทุกประเทศกำหนดเสียภาษีไว้ต่ำกว่า แต่ของไทยมีข้อยกเว้นที่หลวมกว่า ยิ่งเมื่อพิจารณาค่าของเงิน อังกฤษ สหรัฐ และญี่ปุ่น กำหนดให้ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมีมูลค่าต่ำกว่าที่ไทยกำหนด ยิ่งกว่านั้นราคาที่ต้องเสียภาษีคิดตามราคาประเมินของทางราชการซึ่งมักต่ำ กว่าราคาตลาดเป็นอันมาก แต่ในประเทศตะวันตกราคาประเมินของทางราชการกับราคาตลาดใกล้เคียงกันมาก สำหรับข้อยกเว้นการยกทรัพย์สินให้บุตรหลานระหว่างที่เจ้าของทรัพย์สินยังมี ชีวิตอยู่ถือเป็นการให้ ตามกฎหมายระบุไว้ว่า “เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่า ตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น” (พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 40 พ.ศ. 2558 มาตรา 4) อันที่จริงแนวคิดภาษีมรดกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมกัน อภิมหาเศรษฐีฝรั่งมีค่านิยมในการบริจาคเงินมหาศาลเพื่อสังคม เพราะเชื่อตามนายแอนดรูว์ คาร์เนกี อภิมหาเศรษฐีอเมริกันที่กล่าวว่า “คนที่ตายอย่างร่ำรวย ตายอย่างน่าอับอาย” (the man who dies thus rich dies disgraced) เขาจึงบริจาคทรัพย์เกือบทั้งหมดให้การกุศลก่อนตาย เหลือให้ทายาทเพียงบางส่วน อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายภาษีมรดกที่รัฐบาลออกมาแทบไม่มีผลในทางปฏิบัติ เป็นเพียงให้ได้ชื่อว่าออกมาตามที่สัญญาไว้เท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อการสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมที่เกลี่ยความมั่งคั่งในยุค ที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง (ไม่ใช่แค่ในนาม) หรือประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นประเทศตะวันตก (ซึ่งไม่ทราบว่าจะเป็นเมื่อไร) เราควรแก้ไขกฎหมายภาษีมรดกใหม่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำได้จริง การที่ไทยออกกฎหมาย “เพี้ยนๆ” แบบนี้ แสดงว่าเรายังมีคนรวยสุดๆที่มีอิทธิพลทางการเมือง ยังมีผู้ยิ่งใหญ่แสดงฤทธิ์เดชในฐานะอภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย รัฐบาลของประชาชนต้องพยายามสร้างความเท่าเทียมจึงจะลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเท่าเทียมในสังคม ทำให้ประเทศไทยเป็นของคนไทยทั้งชาติ ไม่ใช่เฉพาะของคนรวยๆ

ที่มา : www.lokwannee.com/web2013/?p=271514

วันที่ 15 มิ.ย. 60

ชื่อ  ดร.

ชื่อ  นายแอนดรูว์ คาร์เนกี อภิมหาเศรษฐีอเมริกัน