-
กลับไปหน้าแรกข่าว  แก้ปัญหา‘คนเร่ร่อน’ง่ายนิดเดียว /โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย
13 เม.ย. 2017

แก้ปัญหา‘คนเร่ร่อน’ง่ายนิดเดียว /โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย

การปัดเป่าปัญหาคนเร่ร่อนหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะไม่ใช่ “กำจัด” หรือไม่เห็นสิทธิมนุษยชน ปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ยาก อยู่ที่รัฐจะเอาจริงหรือไม่ โดยที่ผ่านมา ผู้เขียนได้จัดแถลงข่าวเกี่ยวกับการสำรวจจำนวนคนเร่ร่อนในกรุงเทพมหานคร โดยมีนายนที สรวารี เป็นประธานคณะทำงานสำรวจและรายงานผลว่า มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะในปี 2559 จำนวน 3,455 คน แยกเป็นชาย 2,112 คน (61%) และหญิง 1,374 คน (39%) เขตพระนครมีมากที่สุด 604 คน (17%) รองลงมาคือ บางซื่อ 301 คน (9%) จตุจักร 249 คน (7%) ปทุมวัน 218 คน (6%) สัมพันธวงศ์ 203 คน คลองเตย 152 คน (4%) ราชเทวี 149 คน (4%) พญาไท 142 คน (6%) บางกะปิ 140 คน (4%) และบางรัก 136 คน (4%) คนเร่ร่อนแตกต่างจากขอทาน ขอทานเป็นอาชีพที่ใช้ความน่ารักน่าสงสารให้มีผู้ให้เงิน ทำนองการหลอกลวงประชาชน ขอทานมีรายได้สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำเสียอีก ค่าเฉลี่ยรายได้ของขอทานคนหนึ่งประมาณ 2,000-5,000 บาทต่อวัน รายได้ต่ำสุดคือ 500 บาท ขอทานที่มีรายได้สูงจะทำตัวให้สกปรกที่สุด น่าสงสารเวทนาที่สุด หาก (แสร้ง) ทำแผลให้เหวอะหวะยิ่งมีรายได้สูงขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงพบขอทานเกลื่อนเมือง โดยเฉพาะในใจกลางกรุงเทพฯ ส่วนคนเร่ร่อนมีลักษณะแตกต่างออกไปจากขอทานทั่วไป ซึ่งมีชาวต่างชาติอยู่เป็นจำนวนมาก ขอทานเป็นอาชีพที่ขายความน่ารักน่าสงสาร กลายเป็นการทำบุญได้บาป แต่คนเร่ร่อนเกิดขึ้นจากปัญหาที่รุมเร้าต่างๆจนต้องออกมาเร่ร่อน เราพึงเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพวกเขาและหาทางให้กลับสู่สังคมโดย เร็ว พวกเขาไม่ใช่ขอทานที่งอมืองอเท้าขอเงิน การแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนจะทำให้ ในระดับชาติประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 ซึ่งมีสาระสำคัญในการช่วยเหลือคนเร่ร่อนในฐานะคนไร้ที่พึ่งเช่นกัน ในประเทศอื่น เช่น สหรัฐ สกอตแลนด์ ก็มีกฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติ และในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ปัญหาคนเร่ร่อนในหลายประเทศเช่นกัน การแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนทำได้ยาก เพราะที่ผ่านมากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับงบประมาณ เพียงประมาณ 10,000 ล้านบาท จากงบประมาณทั้งหมดราว 2.7 ล้านล้านบาท หรือ 0.37% เท่านั้น ไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหา รัฐบาลควรจัดเก็บภาษีมากกว่านี้ โดยเฉพาะภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่น ขณะเดียวกันก็ควรแบ่งเงินมาพัฒนาสังคมมากกว่านี้  โดยสรุปแล้วการแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนที่มีอยู่จำนวนไม่มากนักใน เขตกรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆสามารถทำได้ไม่ยาก เพราะยังมีจำนวนไม่มากนัก หากรัฐบาลจัดงบประมาณเพื่อการนี้ และได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ปัญหานี้ก็สามารถได้รับการแก้ไขเพื่อจรรโลงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของคนเร่ร่อนหรือผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ อย่าให้เกิดการบีบคั้นจนสังคมมีคนเร่ร่อนเต็มไปหมด

ที่มา : http://www.lokwannee.com/web2013/?p=264705

วันที่ 13 เม.ย. 60