-
กลับไปหน้าแรกเว็บบอร์ด  กฎอัยการศึกกับเศรษฐกิจของชาติ

ตามที่มีข่าวว่า "นายกฯเปิดบ้านเกษะโกมลหารือนักธุรกิจ บิ๊กเดอะมอลล์ ชี้อัยการศึกไม่กระทบศก." (http://goo.gl/hJx9Hu) นั้น นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่นายกรัฐมนตรีไทยรับฟังเสียงของภาคเอกชนในการพัฒนา ประเทศ แต่ประเด็นหนึ่งที่กล่าวว่ากฎอัยการศึกไม่กระทบต่อเศรษฐกิจนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเป็นอย่างยิ่ง ดร.โสภณ เกรงว่าจะเกิดความเข้าใจผิด จึงขออนุญาตเสนอข้อคิดเห็นในอีกแง่มุมหนึ่งเพื่อการพัฒนาประเทศชาติ 

         1. การที่ห้างสรรพสินค้าหนึ่งเติบโตถึง 25% ในปี 2557 นับเป็นเรื่องดีที่น่าเรียนรู้และสรรเสริญ แต่คงต้องมาศึกษาว่าการเติบโตดังกล่าวเกิดจากการลงทุนเพิ่ม ทำให้มีรายได้เพิ่ม หรือเป็นการเข้ามาจับจ่ายของคนไทยเองหรือนักท่องเที่ยวกันแน่
          2. การเติบโตของภูเก็ตไม่เกี่ยวกับประเทศไทยโดยรวมนักเพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ตากอากาศที่ห่างไกล (ชายแดน) จากประเทศไทย แต่หากเป็นในกรณีพัทยาซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานครมากนัก ได้รับผลกระทบอย่างหนักต่อการที่มีการประกาศกฎอัยการศึก
          3. สำหรับเกาะสมุยที่ว่าสถานการณ์ดีนั้น เป็นความเข้าใจผิดเป็นอย่างยิ่ง ราคาที่ดินสมุยตกต่ำลงไม่น้อยกว่า 20-30% บางบริเวณอาจลดต่ำลงถึง 50% ทั้งนี้เพราะการเดินทางไปลำบาก นี่จึงเป็นสาเหตุที่ไม่มีตั๋วเครื่องบินเพียงพอที่จะเดินทางไปสมุย สนามบินสมุยก็เป็นของบางกอกแอร์เวย์ การบินไทยและสายการบินอื่น คงบินไปลงไม่ได้ จึงทำให้นักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปลงเครื่องบินที่สนามบินสุราษฎร์ และต่อเรือ รวมเวลาจากสนามบินสุราษฎร์ถึงสมุยเป็นเวลาอีก 3 ชั่วโมง ซึ่งนับว่านานเกินไป
          4. ที่ว่านักลงทุนระดับโลกอย่างเจ้าของคริสเตียนดิออร์ บอกว่าเขาไม่ได้กลัวเรื่องกฎอัยการศึกนั้น อาจเป็นแค่ความเห็นของคน ๆ เดียว เพราะไม่ใช่นักธุรกิจระดับโลกส่วนใหญ่จะคิดเช่นนั้น และเป็นเพียงแค่การคิด โดยเขาก็ไม่ได้เข้ามาในประเทศไทยจริง แต่กรณีนี้ก็เป็นข้อคิดที่ดีของไทยว่า หากไทยสามารถต้อนรับผู้มีชื่อเสียงระดับโลกให้มาท่องเที่ยวประเทศไทยได้ จะถือเป็นการโฆษณาประเทศในทางหนึ่ง แต่อย่าได้นำงบประมาณแผ่นดินไปเชิญมหา เศรษฐีเหล่านี้มาเที่ยวโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
          5. ปรากฏการณ์ที่ว่า “วันนี้เราอยู่ราชประสงค์ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาเดินปิดถนน . . . วันนี้เราไม่กลัว เรารู้สึกหน้าตาสดใสขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว” เกิดขึ้นได้ก็เพราะผู้ที่ปิดถนนเหล่านั้นต่างได้ดิบได้ดีในทางการเมืองในขณะ นี้แล้ว และโดยที่มีกฎอัยการศึก จึงทำให้อีกฝ่ายไม่อาจออกมาประท้วงได้นั่นเอง แต่การสู้อยู่ข้างถนนแล้วรวย ได้อำนาจเช่นนี้ ไม่ควรเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีสำหรับประเทศไทย

สถานการณ์ที่แท้จริงเป็นอย่างไร
          1. หากพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ปีละประมาณ 12 ล้านล้านบาท ปรากฏว่าปี 2557เติบโตราว 1% ทั้งที่ควรเป็น 4% หากไม่เกิดความไม่สงบทางการเมือง แสดงถึงความสูญเสียโอกาสไปถึง 360,000 ล้านบาท (3% ของ GDP)
          2. นับถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2557 กรมการท่องเที่ยวเปิดเผยข้อมูลว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2557 มีประมาณ 22 ล้านหายไปจากปี 2556 ถึง 2 ล้านคน โดยคนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายราว 44,000 บาท ก็เท่ากับรายได้จากการท่องเที่ยวหายไปเกือบ 100,000 ล้านบาทแล้ว ยิ่งหากในสถานการณ์ปกติปี 2557 น่าจะมีนักท่องเที่ยวราว 26 ล้านคน ก็เท่ากับไทยสูญเสียโอกาสไปเกือบ 200,000 บาทจากการท่องเที่ยวในภาวะที่ไม่เป็นปกติเช่นนี้
          ต้น ทุนในการใช้กฎอัยการศึกและโดยเฉพาะความไม่สงบทางการเมืองที่กลุ่ม กปปส. ได้ก่อขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 - พฤษภาคม 2557 ส่งผลเสียต่อประเทศชาติสูงเป็นอย่างยิ่ง และทุกวันนี้เศรษฐกิจไม่เติบโตก็ เพราะการประกาศใช้กฎอัยการศึก ทำให้ประเทศอื่นช่วงชิงขึ้นหน้า ธนาคารโลกยังได้เคยประเมินสถานการณ์ไว้ว่าในปี 2558 และ 2559 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตประมาณ 4.0-4.5% ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคนี้จะเติบโตประมาณ 7.1% โดยเฉลี่ย (http://goo.gl/nQiG6W) ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ถึงกับย้ำว่า ""ขุนคลัง"ส่งสัญญาณเตือนปี"58 ศก.ฝืดเคือง ต้องอดทนทำงานหนักต่อเนื่อง" (http://goo.gl/hGqqi4)
          ขณะ นี้ประเทศอินโดนีเซียใช้จุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวว่าประเทศของตนมี ความมั่นคงทางการเมืองจริงตามธรรมชาติ มีการเลือกตั้งที่สูสีมากแต่เรียบร้อย (ไม่ใช่เพราะการมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก) (http://goo.gl/ODpOGW) และผลการสำรวจของนักลงทุนญี่ปุ่น ก็จัดอันดับประเทศไทยอยู่ท้าย ๆ ในขณะนี้ด้วย

          ดังนั้นขีดความสามารถของไทยภายใต้กฎอัยการศึกจึงถูกจำกัดไว้ แม้ว่าประชาชนจะไม่เดือดร้อน ยังจะไปจ่ายตลาด (http://goo.gl/e4NW8c) และหายใจได้ตามปกติภายใต้กฎอัยการศึกก็ตาม

ที่มา: http://www.areaguru.net/topicdetail.php?tc_id=2286


 
=> 3324