-
กลับไปหน้าแรกเว็บบอร์ด  ดร.โสภณ คัดค้านถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา

การคิดที่จะ สร้าง "ทางเลียบเจ้าพระยา" เป็นแนวคิดที่วิบัติไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง สูญเงินเปล่าและไม่ช่วยแก้ไขจราจร ดร.โสภณ เสนอให้เป็นการสร้างถนน 6 ช่องจราจรแทนโดยไม่มีบีอาร์ที

          โครงการ นี้มีมูลค่า 3 หมื่นล้าน โดยจะสร้าง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยายาว 50 กม. จาก "สะพานพระราม 3-พระนั่งเกล้า" ตามข่าวกล่าวว่าจะเนรมิตทางจักรยาน-คนเดิน-รถเมล์ไฟฟ้า-จุดชมวิวรับท่อง เที่ยว และให้เฟสแรกเริ่มตุลาคม 2558

          ดร.โสภณ เสนอว่า
          1. ให้สร้างถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร 2 ฝั่งแม่น้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่ถนนให้กรุงเทพมหานครให้มากขึ้น เพราะโครงการที่เสนอ ไม่ได้แก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน
          2. อย่าสร้างรถบีอาร์ที ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล และเป็นภาระแก่การจราจรอื่น ทั้งนี้ ดร.โสภณ เคยเป็นที่ปรึกษาธนาคารโลก ณ กรุงจาการ์ตา และกระทรวงการคลัง อินโดนีเซีย ได้ไปสัมผัสและพบว่าโครงการนี้ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง
          3. การสร้างเป็นจุดชมวิวต่าง ๆ เป็นแค่ “น้ำจิ้ม” อย่าได้เอางบประมาณไป “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” กับโครงการ “ผักชีโรยหน้า” เช่นนี้
          4. ถนนนี้จะเป็นเสมือนเขื่อนป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป แต่หากผ่านโบราณสถานสำคัญ ก็อาจต้องลงทุนให้มุดลงใต้ดินในบางช่วง
          5. ในการก่อสร้างจริง จะต้องรื้ออาคารทั้งหมดริมแม่น้ำออกออกเพื่อกันพื้นที่สร้างถนน ซึ่งต้องเวนคืน โดยการเวนคืน ควรจ่ายค่าทดแทนให้เหมาะสม และสำหรับผู้ที่ต้องการอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ก็อาจก่อสร้างเป็นอาคารชุดเพื่อให้ไม่กระทบต่อเดินทางไปทำงานหรือการเดินทาง ไปสถานศึกษาของลูกหลาน
          ที่ กทม. อ้างว่าการทำถนนนี้ใช้ต้นแบบมาจากเกาหลีนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะในกรุงโซล เขาสร้างถนนขนาดใหญ่หลายช่องทางจราจรริมแม่น้ำเป็นเสมือนเขื่อนป้องกันน้ำ ท่วมได้ด้วย และในกรุงโซล ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่ของเขาเฉลี่ยทุกระยะ 1 กิโลเมตร แต่ของไทยยังมีสะพานข้ามแม่น้ำทุกระยะ 2 กิโลเมตร ซึ่งถือว่ามีน้อยไป


 
=> 7506