-
กลับไปหน้าแรกเว็บบอร์ด  เอกสารถ่านหินกระบี่ที่บิดเบือน

 กรีนพีซบอกว่าการผลิตถ่านหินที่เหมืองในกาลิมันตัน เป็นปัญหามลภาวะ เป็นสิ่งที่จริงหรือไม่ เป็นการทำร้ายประชาชนคนเล็กคนน้อยนับแสนนับล้านที่ทำงานด้านเหมืองถ่านหินหรือไม่ สถาบัน MIT ยังชี้ให้เห็นความจำเป็นในการใช้ถ่านหินในโลกนี้ และยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาดที่จะผลิตพลังงานด้วยถ่านหินอีกด้วย

           เมื่อวานนี้ สถานีโทรทัศน์ Peace TV ได้เชิญผมไปถกกับคุณจริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ โดยคุณจริยา ได้กล่าวถึงการต่อต้านแหล่งถ่านหินที่กาลิมันตันของฟิลิปปินส์ ผมจึงได้ไปค้นหาข้อมูลมาทำความจริงให้ปรากฏ
       1. การใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า ใช้ถึงประมาณ 41% ทั่วโลก (www.worldcoal.org/coal-energy-access) ในอนาคต ยังจะมีการใช้พลังงานจากถ่านหินอีกมาก ไม่ใช่เฉพาะพลังงานจากลมและแดดซึ่งแพงกว่ามาก เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าถ่านหินยุคใหม่คือการไม่เพิ่มมลภาวะทางอากาศ จนกลายเป็นเทคโนโลยี (ถ่านหิน) สะอาด Clean Coal Technology ไม่ใช่ถ่านหินสะอาดที่ก่อมลภาวะเกือบเท่าศูนย์ (Near-zero Emissions) (www.world-nuclear.org/info/Energy-and-Environment/-Clean-Coal--Technologies)
       2. คณะนักวิจัยสหวิชาชีพของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาขูเซ็ตต์ (MIT) ได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับถ่านหินไว้เมื่อปี 2550 และพบว่าแม้ถ่านหินจะเป็นพลังงานที่ไม่สะอาดเช่นนิวเคลียร์ แต่สามารถที่จะทำให้กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาดได้ และมีความจำเป็นในการใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้น ถ่านหินมีราคาถูกและมีปริมาณมหาศาลในโลกนี้ จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ ในเชิงเทคโนโลยีสามารถทำให้กระบวนการผลิตไฟฟ้าสะอาดได้แน่นอน โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://web.mit.edu/coal/The_Future_of_Coal_Summary_Report.pdf
       3. คุณจริยากล่าวว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเป็นสิ่งล้าสมัยและเลิกทำกันแล้ว แต่ในความเป็นจริงในโลกนี้ยังจะมีโรงงานไฟฟ้าถ่านหินใหม่ ๆ อีกเกือบ 1,200 แห่งทั่วโลก ข้อมูลที่คุณจริยากล่าวถึงจึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด (www.wri.org/blog/2012/11/new-global-assessment-reveals-nearly-1200-proposed-coal-fired-power-plants)

ที่มา:http://www.wri.org/blog/2012/11/new-global-assessment-reveals-nearly-1200-proposed-coal-fired-power-plants

       4. สำหรับบริษัทผลิตถ่านหินที่เกาะกาลิมันตัน หากทำใจเป็นธรรมฟังจากฟากของบริษัทบ้างคือบริษัท KPCwww.kpc.co.id/sustainabilities/environment?locale=en) เขาก็ได้ปฏิบัติตามหลักการทำเหมือนที่ดี (Good Mining Practice on Environmental Aspect) โดยมีองค์ประกอบเกี่ยวกับการป่องกันมลพิษ โดยเฉพาะการจัดการน้ำ การจัดการสารพิษ การจัดการกากอื่น ๆ การจัดการฝุ่งละออง การติดตามสภาวะอากาศ การฟื้นฟูพื้นที่เหมืองเก่า การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การดูแลวัสดุ-อุปกรณ์ในการทำเหมืองถ่านหิน การอนุรักษ์น้ำ การอนุรักษ์พลังงาน การประหยัดพลังงาน ฯลฯ ทั้งนี้บริษัทก็ได้ดำเนินการด้วยดี โดยได้รับการรับรอง อย่างไรก็ตามก็ยังอาจมีข้อบกพร่องบ้าง แต่พวกเอ็นจีโอมักนำปัญหาเฉพาะส่วนย่อยมาใส่ความกับการทำเหมืองถ่านหิน

           การนำเสนอข้อมูลที่อาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา เช่น ขาวอินโดนีเซียนับแสนนับล้านที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองถ่านหิน อาจต้องตกงานจากการเรียกร้องเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือใช้ประเด็นปลีกย่อยเกี่ยวกับข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของการจัดการสิ่งแวดล้อมในอดีตที่ผ่านมา การนี้เท่ากับเป็นการทำร้ายประชาชนคนเล็กคนน้อย และส่วนหนึ่งองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลก อาจเป็นเครื่องมือทางการเมืองของมหาอำนาจเช่นสหรัฐอเมริกา ในการควบคุมการพลังงานโลก และอาจไม่ต้องการให้ประเทศจีน อินเดีย สามารถพึ่งตนเองด้านพลังงานโดยเฉพาะการใช้ถ่านหิน เป็นต้น


 
=> 0417